Page 258 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 258

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-7





                        4.1.2  การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืช

                             การประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเศรษฐกิจเป็นการประเมิน

                  และเปรียบเทียบผลที่ได้จากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในแต่ละหน่วยที่ดินในลักษณะของ

                  ผลตอบแทนต่อไร่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละหน่วยที่ดินที่ได้ใช้ประโยชน์ไปในกิจกรรม
                  ประเภทต่างๆ นั้น กิจกรรมใดจะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมหรือคุ้มค่าต่อการลงทุนมากน้อยกว่ากัน

                  เพียงใด มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจระดับใดและเพื่อพิจารณาว่า ในหน่วยที่ดินที่สามารถเลือกทํา

                  การผลิตได้หลายประเภทนั้น มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินชนิดใดที่สมควรเสนอแนะให้ทําการผลิต
                  ซึ่งการประเมินเพื่อนํามาจัดระดับความเหมาะสมทางเศรษฐกิจดังกล่าว นั้น ในการประเมินความเหมาะสม

                  ทางด้านเศรษฐกิจมีทั้งพืชอายุสั้น และพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวหลายปี ตัวแปรที่นํามาเป็นตัวชี้วัดมี 4 ตัวแปร

                  คือ รายได้หรือมูลค่าผลผลิต ต้นทุนผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร และอัตราส่วนของรายได้

                  ต่อต้นทุน โดยการผลิตพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวหลายปี ได้นํามูลค่าผลผลิตและต้นทุนผันแปรมา
                  วิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการโดยใช้หลักมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (Net Present

                  Value : NPV) และปรับค่า NPV เป็นค่าเฉลี่ยต่อปีด้วย Capital Recovery Factor (CRF) นําค่าตัวแปร 4 ตัวแปร

                  ดังกล่าวมาประเมิน ด้วยวิธีการตามแนวทางการประเมินความเหมาะสมของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  ในเชิงเศรษฐกิจเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มนํ้าสาขา (รายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดชั้นความ

                  เหมาะสมทางเศรษฐกิจในบทที่ 1) ในการประเมินดังกล่าว ค่าตัวแปรต่างๆ เมื่อนํามาคํานวณหาค่าทาง

                  สถิติแล้ว ผลของการประเมินชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินใน
                  แต่ละหน่วยที่ดิน พอสรุปได้ดังนี้

                                เขตนํ้าฝน (ตารางที่ 4-3)

                                หน่วยที่ดินที่ 15hi มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ข้าวเจ้านาปี

                  นาหว่าน เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)
                                หน่วยที่ดินที่ 17hiB มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ข้าวเจ้านาปี

                  นาหว่าน เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                                หน่วยที่ดินที่ 18hi มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ข้าวเจ้านาปี

                  นาหว่าน เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)
                                หน่วยที่ดินที่ 19hi มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ข้าวเจ้านาปี

                  นาหว่าน เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                                หน่วยที่ดินที่ 29B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ มันสําปะหลัง

                  เกษตรกรปลูกมันสําปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ ห้วยบง และระยอง 5 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
                  ในระดับสูง (S1)
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263