Page 24 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-7





                                - พืชไร่ มีเนื้อที่ 201,537 ไร่ หรือร้อยละ 19.98 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ พืชไร่

                  ผสม ข้าวโพด อ้อย และมันสําปะหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง

                                - ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 35,421 ไร่ หรือร้อยละ 3.51 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ไม้ยืน
                  ต้นผสม ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน ยูคาลิปตัส สนประดิพัทธ์ กระถิน ไผ่ และกฤษณา ซึ่งส่วนใหญ่เป็น

                  พื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส

                                - ไม้ผล มีเนื้อที่ 3,383 ไร่ หรือร้อยละ 0.34 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ไม้ผลผสม

                  มะม่วง และมะขาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกมะม่วงและไม้ผลผสม
                                - ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 952 ไร่ หรือร้อยละ 0.09 ของเนื้อที่

                  ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ ม้า และสัตว์ปีก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่

                  ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

                             3)  พื้นที่ป่ าไม้ มีเนื้อที่ 325,084 ไร่ หรือร้อยละ 32.23 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ป่าดิบ
                  รอสภาพฟื้นฟู ป่าดิบสมบูรณ์ ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู ป่าผลัดใบสมบูรณ์ สวนป่ารอสภาพฟื้นฟู และ

                  สวนป่าสมบูรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าดิบสมบูรณ์ มีเนื้อที่ 195,715ไร่ หรือร้อยละ 19.40 ของเนื้อที่ลุ่ม

                  นํ้าสาขา
                             4) พื้นที่แหล่งนํ้า มีเนื้อที่ 11,678 ไร่ หรือร้อยละ 1.16 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ แม่นํ้า

                  ลําคลอง ทะเลสาบ บึง อ่างเก็บนํ้า และบ่อนํ้าในไร่นา

                             5) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 22,593 ไร่ หรือร้อยละ 2.24 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่ ทุ่งหญ้า

                  ไม้ละเมาะ พื้นที่ลุ่ม เหมืองเก่า บ่อขุดเก่า บ่อลูกรัง และบ่อดิน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไม้ละเมาะ
                             จากการวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินของลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701) พบว่า ในลุ่มนํ้า

                  สาขาโตนเลสาปตอนบน (1701) มีพื้นที่เกษตรกรรมครอบคลุมพื้นที่มากเป็นอันดับหนึ่งของลุ่มนํ้าสาขา

                  โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ปลูกข้าวเป็นหลัก รองลงมาเป็นพืชไร่ ได้แก่ มันสําปะหลังและพื้นที่ป่าไม้
                  ครอบคลุมพื้นที่มากเป็นอันดับสองของลุ่มนํ้าสาขา ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบสมบูรณ์รองลงมาเป็นป่าผลัดใบ

                  สมบูรณ์
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29