Page 23 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-6






                  2.2  สภาพภูมิประเทศ

                           2.2.1  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701) สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของลุ่มนํ้าสาขา
                  โตนเลสาปตอนบน (1701) ทางตอนบนในเขตอําเภอวัฒนานคร และอําเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

                  มีสภาพภูมิประเทศเป็นแนวเทือกเขา ซึ่งกั้นเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์กับจังหวัดสระแก้ว และสภาพพื้นที่

                  ของลุ่มนํ้าค่อยๆ ลาดเทลงจากทิศตะวันตกในเขตอําเภอวัฒนานคร ไปสู่ทิศตะวันออกในเขตอําเภอตา
                  พระยา อําเภอโคกสูง และอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับราชอาณาจักร

                  กัมพูชา

                        2.2.2 ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด

                  (1702) ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ บริเวณทางตอนบนในเขตอําเภออรัญประเทศ
                  เขตอําเภอวัฒนานครและทางตอนใต้ในเขตอําเภอวัฒนานคร อําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว มีสภาพ

                  พื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยและสภาพพื้นที่ของลุ่มนํ้าค่อยๆลาดเทลงจากทิศตะวันตกในเขต

                  อําเภอวัฒนานครไปสู่ทิศตะวันออกในเขตอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

                        2.2.3  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703) สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของลุ่มนํ้าสาขา
                  โตนเลสาปตอนล่าง (1703) มีสภาพพื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงจากทางตอนล่างไปสู่ทางตอนบนของพื้นที่

                  ลุ่มนํ้า โดยทางตอนบนในเขตอําเภออรัญประเทศ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ บริเวณ

                  ตอนกลางในเขตอําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และอําเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เป็นลูกคลื่นลอนลาด
                  เล็กน้อย และทางตอนใต้ ในเขตอําเภอเขาคิชฌกูฏ อําเภอขลุง อําเภอโป่งนํ้าร้อน จังหวัดจันทบุรี เป็นภูเขา

                  สูงชัน ซึ่งเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธารที่สําคัญของพื้นที่ลุ่มนํ้า


                  2.3  สภาพการใช้ที่ดิน

                        2.3.1  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701) จากการสํารวจสภาพการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว

                  ในปี 2553 โดยส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินที่ 1กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                  พบว่า ในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701) มีสภาพการใช้ที่ดิน ดังนี้ (ตารางที่ 2-1 และรูปที่ 2-4)
                             1) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 35,641 ไร่ หรือร้อยละ 3.53 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                  ได้แก่ ตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้าน สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ ถนน โรงงานอุตสาหกรรม

                  แหล่งรับซื้อสินค้าทางการเกษตร และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้าน สถานที่ราชการ

                  และสถาบันต่างๆ
                             2) พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 613,594 ไร่ หรือร้อยละ 60.84 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                  ประกอบไปด้วย

                                - นาข้าว มีเนื้อที่ 372,279 ไร่ หรือร้อยละ 36.91 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28