Page 176 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 176

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-35







                  3.2.2  การวิเคราะห์จัดทําหน่วยที่ดิน

                             การวิเคราะห์จัดทําหน่วยที่ดินเป็นการกําหนดขอบเขตของพื้นที่ให้มีลักษณะเฉพาะเพื่อใช้
                  สําหรับการประเมินคุณภาพที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ดังนั้นในการจัดทําหน่วยที่ดินของลุ่มนํ้าสาขา

                  ห้วยพรมโหด (1702) จึงนําปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชมาพิจารณาร่วมกัน ได้แก่

                  ลักษณะของดิน ซึ่งใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดินจากรายงานสํารวจดินเพื่อการเกษตรจังหวัดสระแก้วของสํานักสํารวจดิน

                  และวางแผนการใช้ที่ดิน (2551) โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน เช่น
                  ความลึกของดิน เนื้อดิน การระบายนํ้า ปฏิกิริยาดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติ เป็นต้น

                  ร่วมกับสภาพพื้นที่ ลักษณะการจัดการพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดิน เช่นโครงการชลประทานและ

                  การจัดการพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทําคันดิน เพื่อป้ องกันนํ้าท่วม การยกร่องและการทําคันนา
                  ในพื้นที่ดอนเพื่อปลูกข้าว เป็นต้น

                             จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่สําคัญดังกล่าว สามารถจําแนกหน่วยที่ดินของลุ่มนํ้าสาขา

                  ห้วยพรมโหด (1702) ได้ 57 หน่วยที่ดิน ซึ่งมีลักษณะและคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน (ตารางที่ 3-4) ดังนี้
                             หน่วยที่ดินที่ 1 และ 1M2

                             พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึก

                  มาก เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุ

                  บวกสูงถึงสูงมาก ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึง
                  เป็นกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 6.0-7.0 ดินล่างมีปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็น ด่างปานกลาง

                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 7.0-8.0 การหยั่งลึกของรากในดินบน ดินล่างและความยากง่ายในการเขตกรรม

                  อยู่ในระดับยาก
                             - หน่วยที่ดินที่ 1 ดินมีการระบายนํ้าเลว เนื้อที่ 6,143 ไร่ หรือร้อยละ 1.05 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                             - หน่วยที่ดินที่ 1M2 มีการจัดการพื้นที่โดยการยกร่อง ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว เนื้อที่

                  257 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                             หน่วยที่ดินที่ 6 6I และ 6M2
                             พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ เป็นดิน

                  ลึกมาก เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว ดินล่างเป็นดิน

                  เหนียวความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงถึงสูงมาก
                  ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างตํ่าถึงปานกลาง ดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็น

                  กรดเล็กน้อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.5-6.5 ดินล่างมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด

                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.5-5.5 การหยั่งลึกของรากในดินบน ดินล่างและความยากง่ายใน
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181