Page 172 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 172

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-30







                  3.2.  ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702)

                        3.2.1) สถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบัน

                             จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด(1702)
                  สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้ (ตารางที่ 3-3 และรูปที่ 3-2)

                      (1) ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ดอน มีเนื้อที่ 34,489 ไร่ หรือร้อยละ 5.91 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขาพบ

                  ในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินร่วนหยาบ เนื้อดินเป็น

                  ดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนร่วน ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า
                  การปลูกพืชอาจขาดนํ้าได้ในช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานๆ พบบริเวณตอนบนของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                  ในเขตอําเภอวัฒนานครและอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

                             (2)ดินทรายจัดที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 8,498 ไร่ หรือร้อยละ 1.46 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบใน

                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินทราย ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเป็นระยะเวลานานและมีนํ้าท่วมขัง

                  ในฤดูฝนทําความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบนํ้า พบบริเวณตอนบนของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาในเขตอําเภอวัฒนานคร

                  และอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
                             (3) ดินทรายจัดที่ดอน มีเนื้อที่ 39,266 ไร่ หรือร้อยละ 6.73 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบใน

                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เนื้อดินเป็นดินทราย ดินมีการระบายนํ้าดี

                  ถึงค่อนข้างมากความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเป็นระยะเวลานาน
                  พบบริเวณตอนบนของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาในเขตอําเภอวัฒนานครและอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

                             (4) ดินตื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 78,704 ไร่ หรือร้อยละ 13.50 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่

                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทราย ดินร่วนดินเหนียวหรือดินร่วนปน
                  ดินเหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมากภายในความลึก 50 เซนติเมตร ดินมีการระบายนํ้า

                  ค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช

                  การไถพรวนตลอดจนการดูดซับนํ้าและแร่ธาตุอาหารของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและ

                  ให้ผลผลิตตํ่ามีนํ้าท่วมขังในฤดูฝนทําความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบนํ้า พบบริเวณตอนกลางของพื้นที่
                  ลุ่มนํ้าสาขาในเขตอําเภอวัฒนานครและอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

                             (5) ดินตื้นที่ดอน มีเนื้อที่ 76,763 ไร่ หรือร้อยละ 13.16 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่

                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตาม
                  ธรรมชาติตํ่า เป็นดินตื้นถึงลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ดินตื้นถึงชั้นหินพื้นซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไช
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177