Page 16 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           1-4





                  รายได้ (มูลค่าการผลิต) ต้นทุนผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรและอัตราส่วนของรายได้ต่อ

                  ต้นทุนของประเภทการใช้ที่ดินชนิดต่างๆในแต่ละหน่วยที่ดิน

                             การจัดระดับความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินชนิดต่างๆ
                  ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา เนื่องจากพืชที่ผลิตมีทั้งพืชในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา เนื่องจาก เนื่องจากพืชที่ผลิตมีทั้งพืชอายุสั้น

                  ในรอบการผลิตเดียวและพืชที่มีอายุการผลิตเกินกว่า 1 ปี มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตหลายปี ตัวแปรที่นํามาใช้

                  พิจารณาในการจัดระดับความเหมาะสมทางเศรษฐกิจจะใช้ตัวแปร 4 ตัวแปรได้แก่ ต้นทุนผันแปร (VC)
                  รายได้หรือมูลค่าผลผลิต (I) ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร (RVC) และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนผันแปร (BC)

                  ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินชนิดต่างๆในแต่ละหน่วยที่ดิน โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
                                   3.1หาค่าสูงสุด (Maximum หรือ Max) และค่าตํ่าสุด (Minimum หรือ Min) ของต้นทุน

                  ผันแปรทั้งหมด รายได้ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด และอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน

                  ผันแปร
                                   3.2แบ่งช่วงข้อมูลของต้นทุนผันแปรทั้งหมดและรายได้ออกเป็น 4 ช่วง ส่วนข้อมูล

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดแบ่งออกเป็น 3 ช่วงโดยใช้ช่วงข้อมูลหรือ IR (Interval Range)
                  เพื่อให้ทราบว่าค่าต่างๆ ของข้อมูลชุดนั้นๆ มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงมากน้อยเพียงใด

                                   3.3กําหนดค่า Minimum หรือค่าวิกฤตของผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด

                  เท่ากับศูนย์ โดยค่าตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดที่ตํ่ากว่าศูนย์จะอยู่ในช่วงตํ่าสุดส่วนค่าที่มากกว่าศูนย์
                  จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

                                   3.4 กําหนดค่า Minimum หรือค่าวิกฤตของอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุนผันแปร

                  เท่ากับ 1.00 โดยค่าอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุนผันแปรที่ตํ่ากว่า 1.00 จะอยู่ในช่วงตํ่าสุดส่วนค่าที่มากกว่า
                  1.00 จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

                                        สูตรในการคํานวณตัวชี้วัดแต่ละตัวมีดังนี้

                  1.    ต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่ (VC) กําหนดระดับ ดังนี้

                      VC  =  ต้นทุนมีความเหมาะสมสูง       =  <  Min + IR
                                1
                      VC  =  ต้นทุนมีความเหมาะสมปานกลาง   =  >  Min + IR     Min + 2IR
                                2
                      VC  =  ต้นทุนมีความเหมาะสมตํ่า       =  >  Min + 2IR   Min + 3IR
                                3
                      VC  =  ต้นทุนไม่มีความเหมาะสม       =  >  Min + 3IR
                                4
                  2.    รายได้ (I) กําหนดระดับรายได้ ดังนี้

                      I    =  รายได้มีความเหมาะสมสูง       =  >  Min + 3IR
                              1
                      I    =  รายได้มีความเหมาะสมปานกลาง   =  >  Min + 2IR   Min + 3IR
                              2
                      I    =  รายได้มีความเหมาะสมตํ่า       =  >  Min + IR     Min + 2IR
                              3
                      I    =  รายได้ไม่มีความเหมาะสม       =  <  Min + IR
                              4
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21