Page 136 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 136

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-7





                        3.1.2  การวิเคราะห์เพื่อจัดทําหน่วยที่ดิน

                             การวิเคราะห์จัดทําหน่วยที่ดินเป็นการกําหนดขอบเขตของพื้นที่ให้มีลักษณะเฉพาะเพื่อ

                  ใช้สําหรับการประเมินคุณภาพที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ดังนั้นในการจัดทําหน่วยที่ดินของลุ่มนํ้าสาขา

                  โตนเลสาปตอนบน (1701) จึงนําปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชมาพิจารณาร่วมกัน
                  ได้แก่ ลักษณะของดิน ซึ่งใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดินจากรายงานสํารวจดินเพื่อการเกษตรจังหวัดสระแก้ว

                  ของสํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน (2551) โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านสมบัติทางกายภาพ

                  และเคมีของดิน เช่น ความลึกของดิน เนื้อดิน การระบายนํ้า ปฏิกิริยาดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  ตามธรรมชาติ เป็นต้น ร่วมกับสภาพพื้นที่ ลักษณะการจัดการพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดิน เช่นโครงการ

                  ชลประทานและการจัดการพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทําคันดิน เพื่อป้ องกันนํ้าท่วม การยกร่องและ

                  การทําคันนาในพื้นที่ดอนเพื่อปลูกข้าว เป็นต้น

                             จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่สําคัญดังกล่าว สามารถจําแนกหน่วยที่ดินของลุ่มนํ้าสาขา
                  โตนเลสาปตอนบน (1701) ได้ 60 หน่วยที่ดิน ซึ่งมีลักษณะและคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดิน (ตารางที่ 3-2)

                  ดังนี้

                             หน่วยที่ดินที่ 1
                             พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึก

                  มาก เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด ดินมีการระบายนํ้าเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลาง

                  ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงถึงสูงมาก ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างสูง ดินบน
                  มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 6.0-7.0 ดินล่างมีปฏิกิริยาดิน

                  เป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 7.0-8.0 การหยั่งลึกของรากในดินบน

                  ดินล่าง และความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่ในระดับยาก มีเนื้อที่ 220 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่

                  ลุ่มนํ้าสาขา
                             หน่วยที่ดินที่ 15 15I 15hi และ 15hiI

                             พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ เป็นดิน

                  ลึกมาก เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ ง ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                  ตามธรรมชาติปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกปานกลางถึงค่อนข้างสูง ความอิ่มตัวด้วย
                  ประจุบวกที่เป็นด่างค่อนข้างตํ่าถึงปานกลาง ดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย ค่าความ

                  เป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.5-6.5 ดินล่างมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง ค่าความเป็น

                  กรดเป็นด่าง (pH) 6.5-8.0 การหยั่งลึกของรากในดินบน ดินล่าง และความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่
                  ในระดับปานกลาง
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141