Page 131 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 131

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                         บทที่ 3

                                           การวิเคราะห์เพื่อจัดทําหน่วยที่ดิน




                        ทรัพยากรที่ดิน


                        ทรัพยากรที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญในการดํารงชีพของมนุษย์ ประเทศไทยเป็น
                  ประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลักในการผลิตสินค้าเกษตร จากการเพิ่มขึ้นของ

                  ประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทําให้ความต้องการใช้ที่ดินมีเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโต

                  ทางเศรษฐกิจทําให้มีการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างสิ้นเปลือง ขาดการอนุรักษ์ฟื้นฟู ส่งผลกระทบให้ทรัพยากร
                  ที่ดินเกิดความเสื่อมโทรม ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                        การวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มนํ้าสาขาเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบเพื่อลดปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ในด้านทรัพยากรที่ดิน
                  ได้มีการวิเคราะห์สถานภาพทรัพยากรที่ดินและการวิเคราะห์จัดทําหน่วยที่ดิน เพื่อใช้ประกอบใน

                  การพิจารณากําหนดแผนการใช้ที่ดินของลุ่มนํ้าสาขา

                        ทรัพยากรดินในแต่ละพื้นที่ของลุ่มนํ้าสาขา มีศักยภาพในการผลิตที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะ
                  ดิน สภาพพื้นที่ การใช้ที่ดินและสภาพแวดล้อม ดังนั้นจึงมีการวิเคราะห์สถานภาพของทรัพยากรที่ดินของ

                  ลุ่มนํ้าสาขา เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพและข้อจํากัดของทรัพยากรดิน จะทําให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาด้าน

                  ทรัพยากรดินโดยรวมของลุ่มนํ้าสาขาชัดเจนมากขึ้น นําไปสู่การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม

                  กับศักยภาพของพื้นที่และตรงกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ซึ่งทรัพยากรที่ดินของ
                  แต่ละลุ่มนํ้าสาขา มีรายละเอียด ดังนี้



                  3.1  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701)

                        3.1.1  สถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบัน
                                จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาป

                  ตอนบน (1701) สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้ (ตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3-1)

                             1) ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 80,399 ไร่ หรือร้อยละ 7.97 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                  พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินร่วนหยาบ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือ
                  ดินทรายปนร่วน ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืช

                  อาจขาดนํ้าได้ในช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานๆ และมีนํ้าท่วมขังในฤดูฝนทําความเสียหายกับพืช

                  ที่ไม่ชอบนํ้า ส่วนใหญ่พบบริเวณตอนบนของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาในเขตอําเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136