Page 3 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 3

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               ก




                                         บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)


                            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ส าคัญ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการและการด าเนินงาน
                  ของกรมพัฒนาที่ดินในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังใช้เป็นเครื่องมือในการ
                  ก ากับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้รวมทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการด าเนินงาน
                  แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายตาม

                  นโยบายและยุทธศาสตร์ของกรมพัฒนาที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อหาแนวทางในการน าแผน
                  ยุทธศาสตร์การพัฒนาของกรมพัฒนาที่ดินไปสู่การปฏิบัติโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
                  (Participatory  Action  Research  :  PAR)  กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) คณะท างานแผน

                  ยุทธศาสตร์ฯ ได้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่มีส่วนร่วมในการบริหารและปฏิบัติการในแผนยุทธศาสตร์ ในกรม
                  พัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาคีต่าง ๆ รวม ๔๙ ท่าน (๒) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่
                  เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ รวม ๕ ท่าน และ(๓) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ที่เข้าร่วมการประชุมเพื่อ
                  ทบทวนร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ขั้นต้น จ านวน ๑๓๕ ท่าน เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย

                  ทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis), SWOT Analysis การประเมินคะแนนถ่วง
                  น้ าหนักของ IFE Matrix และ EFE Matrix, TOWs Matrix การคัดเลือกกลยุทธ์ทางเลือกตามล าดับความส าคัญ
                  ด้วยวิธี QSPM การวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index : CVI) แผนที่กลยุทธ์ (Strategic
                  Map) การระดมสมองของคณะท างานยุทธศาสตร์ (Brain Storming) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิการวิเคราะห์

                  ข้อมูลแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณา (ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การส ารวจความคิดเห็นของผู้
                  มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านแบบสอบถามการประชุมสัมมนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อรับฟังความคิดเห็น
                            ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
                  โดยท าการคัดเลือกปัจจัยด้วย IFE Weight และEFE Weight ที่ปรับแล้ว มีปัจจัยที่ได้รับการคัดเลือกรวม ๑๕

                  รายการ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านจุดแข็งและจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค มีจ านวนเท่ากับ ๔ ๔ ๓ และ๔
                  รายการ ตามล าดับ และจากผลคะแนนถ่วงน้ าหนักรวมใน IE  Matrix  (๓.๕๕ และ๓.๑๙) แสดงให้เห็นว่า
                  ผลการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก มีค่าคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ าหนักอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

                  เช่นเดียวกัน ท าให้ผู้วิจัยสามารถก าหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาพื้นที่การเกษตรของจังหวัดชายแดนภาคใต้
                  โดยใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth  and  Build)  ขณะเดียวกันการวางแผนกลยุทธ์จะเน้นการน าจุดแข็ง
                  และโอกาสมาใช้ในการก าหนดแนวทางเพื่อแก้ไขจุดอ่อน และหลีกเลี่ยงอุปสรรค
                            ผลการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVI)  ของร่าง
                  แผนยุทธศาสตร์ฯ พบว่า ส่วนประกอบของแผนยุทธศาสตร์ฯ ทั้ง ๖ ส่วน ได้แก่ วิสัยทัศน์ (หลังปรับปรุงใหม่)

                  พันธกิจประเด็นยุทธศาสตร์เป้าประสงค์ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓.๔ - ๔.๐ คือ มีระดับความ
                  คิดเห็นอยู่ในระดับมาก และพบว่า มีค่า CVI เท่ากับ 1 คือ เนื้อหาของแผนยุทธศาสตร์มีความถูกต้องเหมาะสม
                  อยู่ในระดับมาก

                            ผลการจัดท าแผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การพัฒนาที่ดินให้อุดมสมบูรณ์
                  เพิ่มพูนผลผลิต สร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ยั่งยืน บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีพันธกิจ มี ๔ ข้อ คือ
                  (๑) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ พัฒนาที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริใน
                  การพัฒนาพื้นที่การเกษตรจังหวัดชายแดนภาคใต้ (๓) การขับเคลื่อนแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร

                  อนุรักษ์ทรัพยากรทางการเกษตรของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ(๔) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
                  ชายแดนภาคใต้ในการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ า ส าหรับประเด็นยุทธศาสตร์พบว่า มี ๔ ข้อ โดยมี


                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   1   2   3   4   5   6   7   8