Page 114 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 114

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                              95





                  5.8 สรุปท้ายบท

                            ในบทนี้เป็นส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ฯ

                  โดยอาศัยการระดมสมองของทีมคณะท างานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ และการทบทวนเนื้อหาของแผน
                  ยุทธศาสตร์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนและสรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

                            5.8.1  การวิเคราะห์ SWOT  (SWOT  Analysis) เพื่อการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
                                   และภายนอก
                                   ผลการวิเคราะห์ SWOT : มีปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกทั้งหมด ๓๖ ปัจจัย

                  (แบ่งเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน คือ จุดแข็ง ๙ และ จุดอ่อน ๙ ปัจจัย และ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก
                  คือ โอกาส ๘ ปัจจัย และ อุปสรรค ๑๐ ปัจจัย)
                                   ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ IFE Matrix และ : EFE Matrix มีเพียง ๑๕ ปัจจัย จาก ๓๖
                  ปัจจัยที่มี Weight Score มากกว่า ๐.๒ คะแนน (ได้แก่จุดแข็ง ๔ จุดอ่อน ๔ โอกาส ๓ และ อุปสรรค ๔ ปัจจัย)


                            5.8.2  การน าผลการวิเคราะห์ SWOT ไปสู่การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์
                                   ผลการวิเคราะห์ SWOT ด้วยเมทริกซ์ภายนอก - ภายใน (IE Matrix) : เป็นการประเมิน
                  คะแนนถ่วงน้ าหนักของ  IE  Matrix เพื่อจะได้เป็นแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ต่อไป โดยผลที่ได้คือคะแนนถ่วง
                  น้ าหนักทั้งสองคือ IFE และEFE จะมีจุดตัดตกอยู่ในช่องที่ ๑ ของ IE Matrix (๓.๕๕ ๓.๑๙) คือมีคะแนนถ่วง
                  น้ าหนักรวมของปัจจัยภายใน (IFE) มีความเข้มแข็งสูงและมีคะแนนถ่วงน้ าหนักรวมของปัจจัยภายนอก (EFE)

                  ในระดับที่สูงด้วยท าให้กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่เกษตรจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นแบบการเจริญเติบโต  (Growth
                  and Build)
                                   ผลการวิเคราะห์ TOWs  Matrix  ส าหรับการก าหนดกลยุทธ์ (The  TOWs  Matrix  for
                  Strategy Formulation : ใช้วิธี TOWs Matrix เพื่อหากลยุทธ์ทางเลือกด้วยการจับคู่อุปสรรค โอกาส จุดอ่อน

                  จุดแข็ง เกิด ๔ กลุ่มกลยุทธ์หลัก ได้แก่ SO ST WO และWT Strategy โดยในแต่ละกลุ่มกลยุทธ์นี้จะถูกผ่าน
                  กระบวนการระดมความคิดเห็นเพื่อก าหนดกลยุทธ์ทางเลือกผลลัพธ์ที่ได้คือ มี ๑๒ กลยุทธ์ทางเลือก (แบ่งเป็น
                  กลุ่มละ ๓ กลยุทธ์ทางเลือก)

                            5.8.3  การคัดเลือกกลยุทธ์ด้วยตารางวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ (QSPM)
                                   ผลลัพธ์การคัดเลือกและกลั่นกรองกลยุทธ์ทั้ง ๑๒ ทางเลือกข้างต้นโดยวิธี QSPM จะท าให้
                  เหลือเพียง ๕ กลยุทธ์ (คัดกรองตามคะแนน TAS ที่มากที่สุดในแต่ละกลุ่มกลยุทธ์ทางเลือก) ได้แก่
                                   กลยุทธ์ SO๑ : บริหารจัดการพื้นที่นาร้างเพื่อพัฒนาพื้นที่ท ากินทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
                                   กลยุทธ์ ST๒ : ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ท าการเกษตรให้มีความอุดมสมบูรณ์

                                   กลยุทธ์ WT๒ : เกษตรกรเข้าถึงการบริการงานพัฒนาที่ดินอย่างทั่วถึง และล าดับสุดท้าย
                                   กลยุทธ์ WO๑ : บูรณาการฟื้นฟูระบบการบริหารจัดการอนุรักษ์ดินและน้ าให้เกิดเอกภาพ
                  และยั่งยืน

                                   กลยุทธ์ WO๓ :  ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยใช้ปรัชญา
                  เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรมี TAS คือ ๖.๖๒๘ ๖.๖๒๕ ๖.๐๙๔ ๕.๘๗๘ และ
                  ๕.๘๗๘ ตามล าดับ









                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119