Page 60 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           40







                             ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ตํ่า
               ขาดแคลนนํ้านาน และบางปีอาจประสบปัญหาเรื่องการถูกนํ้าท่วม

                           กลุ่มชุดดินที่ 59 มีเนื้อที่ 3,296 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.71 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย

                             หน่วยแผนที่ 59 : กลุ่มชุดดินที่ 59 มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 3,296 ไร่ หรือ

               ร้อยละ 0.71 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                             7.2.9  กลุ่มชุดดินที่ 62

                             กลุ่มดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วน

               ใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ หลายแห่งมีการทําไร่เลื่อนลอย คุณสมบัติของหน่วยที่ดินไม่แน่นอน
               ลักษณะของเนื้อดินและดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไป หน่วยที่ดินนี้ควรอนุรักษ์ไว้

               เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธาร และเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีเนื้อที่ 293,525  ไร่

               หรือร้อยละ 63.28 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                             7.2.10  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 7,849 ไร่ หรือร้อยละ 1.70 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                             7.2.11  พื้นที่แหล่งนํ้า มีเนื้อที่ 12,863 ไร่ หรือร้อยละ 2.77 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา


                       7.3  สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                       ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104) มีสภาพการใช้ที่ดิน 5 ประเภท ประกอบด้วย พื้นที่ชุมชน

               และสิ่งปลูกสร้าง (U) พื้นที่เกษตรกรรม (A) พื้นที่ป่าไม้ (F) พื้นที่แหล่งนํ้า (W) และพื้นที่เบ็ดเตล็ด (M) ซึ่งมี

               รายละเอียด ดังนี้ (ตารางที่ 6 และภาพที่ 8) (สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2553)

                           7.3.1  พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 7,849 ไร่ หรือร้อยละ 1.70 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
               ได้แก่ หมู่บ้าน สถานที่ราชการและสถาบันต่างๆ และถนน

                           7.3.2   พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 93,325  ไร่ หรือร้อยละ 20.11  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               ประกอบด้วย
                               1)  นาข้าว (A1) มีเนื้อที่ 11,638 ไร่ หรือร้อยละ 2.51 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

                               2)  พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 71,269 ไร่ หรือร้อยละ 15.36 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย

               ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง และสับปะรด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด
                               3)  ไม้ยืนต้น (A3) มีเนื้อที่ 5,132 ไร่ หรือร้อยละ 1.10 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วย

               ไม้ยืนต้นผสม ยูคาลิปตัส และสัก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นผสม

                               4)  ไม้ผล (A4) มีเนื้อที่ 5,286 ไร่ หรือร้อยละ 1.14 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา  ประกอบด้วย
               ไม้ผลผสม มะม่วง และมะขาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลผสม
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65