Page 4 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                        บทคัดย่อ




                       ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญ เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิตของมนุษย์

               และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เนื่องจากดินเป็นแหล่งของปัจจัยสี่ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดิน

               รวมถึงปัญหาและข้อจํากัดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินสําหรับประเมินคุณภาพที่ดิน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล
               สําหรับนําไปวางแผนการใช้ที่ดินต่อไป รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการใช้ที่ดินลุ่มนํ้าสาขาห้วย

               ทับเสลา โดยการศึกษา วิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดินจากข้อมูลกลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000  รวมกับ

               ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดในการ

               วางแผนการใช้ที่ดินในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา
                       จากการศึกษาในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา พบว่ามีเนื้อที่ทั้งหมด 463,825 ไร่ มีหน่วยแผนที่ดิน

               ทั้งหมด 18 หน่วย (9  กลุ่มชุดดินและพื้นที่เบ็ดเตล็ด 2 หน่วย) สําหรับหน่วยที่ดินพบทั้งหมด 31 หน่วยที่ดิน

               ประกอบด้วย หน่วยที่ดินในพื้นที่ลุ่ม 8 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 23,346 ไร่ หน่วยที่ดินในพื้นที่ดอน 21 หน่วยที่ดิน
               มีเนื้อที่ 419,767 ไร่ และหน่วยที่ดินในพื้นที่เบ็ดเตล็ด 2 หน่วยที่ดิน มีเนื้อที่ 20,712 ไร่ และการวิเคราะห์

               คุณภาพที่ดินหรือความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจได้จัดคุณภาพที่ดินหรือ

               ความเหมาะสมของที่ดินเฉพาะข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสําปะหลัง และอ้อยโรงงาน จากการรวบรวม
               ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา มีเนื้อที่ปลูกข้าว 11,638 ไร่ หรือร้อยละ 2.51 ของพื้นที่

               ลุ่มนํ้าสาขา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 49,771 ไร่ หรือร้อยละ 10.73  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา มันสําปะหลัง

               มีเนื้อที่ 16,532 ไร่ หรือร้อยละ 3.56  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา และอ้อยโรงงาน มีเนื้อที่ 4,694 ไร่ หรือร้อยละ
               1.01  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา ผลการประเมินคุณภาพที่ดินหรือความเหมาะสมของที่ดินสําหรับข้าว พบที่ดิน

               มีความเหมาะสมปานกลาง มีเนื้อที่ 17,320 ไร่ ที่ดินที่ไม่มีความเหมาะสม มีเนื้อที่ 425,793 ไร่ ส่วนผลการ

               ประเมินคุณภาพที่ดินหรือความเหมาะสมของที่ดินสําหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสําปะหลัง พบที่ดินมี

               ความเหมาะสมสูง ที่ดินความเหมาะสมปานกลาง ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย และที่ดินที่ไม่มีความ
               เหมาะสม มีเนื้อที่ 4,268 98,731  3,936  และ 336,178 ไร่ ตามลําดับ และผลการประเมินคุณภาพที่ดินหรือ

               ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับอ้อยโรงงาน พบที่ดินมีความเหมาะสมปานกลาง มีเนื้อที่ 102,078 ไร่ ที่ดินมี

               ความเหมาะสมของที่ดินเล็กน้อย มีเนื้อที่ 4,857 ไร่ ที่ดินที่ไม่มีความเหมาะสม มีเนื้อที่ 336,178 ไร่
               ส่วนสถานภาพของทรัพยากรดินที่พบปัญหาและข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประกอบด้วย

               1) ดินค่อนข้างเป็นทรายหรือดินร่วนหยาบ มีเนื้อที่ 83,923  ไร่ หรือร้อยละ 18.10  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               2) ดินทราย มีเนื้อที่ 1,495  ไร่ หรือร้อยละ 0.32  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 3)  ดินตื้น มีเนื้อที่ 25,333  ไร่ หรือ

               ร้อยละ 5.46  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 4)  ปัญหาอันตรายจากนํ้าท่วม มีเนื้อที่ 7,617  ไร่ หรือร้อยละ 1.64
               ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 5)  ปัญหาการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน มีเนื้อที่ 12,088  ไร่ หรือ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9