Page 60 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          42


                        7) ธรณีวิทยา

                           จากข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดน่าน มาตราส่วน 1:250,000 (กรมทรัพยากรธรณี, 2549) พบว่า
               ลักษณะทางธรณีวิทยาในพื้นที่ แบ่งออกได้ดังนี้ (ภาพที่ 9)
                           7.1) ตะกอน (sediment)

                              (1) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary: Qa) มีอายุ 1 หมื่นปีจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย ตะกอนธาร
               น้ าพา กรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวสะสมตัวตามร่องน้ า คันดินแม่น้ า และแอ่งน้ าท่วมถึง ไปสะสมตัว

               อย่างไม่เป็นระบบ มีอิทธิพลของความลาดชันและน้ าผิวดินปะปนบ้างจึงได้ตะกอนหลากหลายชนิดปนกัน

               มีเนื้อที่ 14,358 ไร่ หรือร้อยละ 10.78 ของพื้นที่
                           7.2) หินตะกอนและหินชั้น (sedimentary and metamorphic rock)

                              (1) ยุคเทอเชียรี (Tertiary; Tmm) มีอายุประมาณ 20-5 ล้านปี ประกอบด้วยหินกึ่งแข็งตัว
               หินเคลย์และหินทรายแป้ง สีแดงถึงน้ าตาลแดง ลิกไนต์ หินเคลย์เนื้อปูนผสม หินปูนผสม หินโคลน หินเคลย์ปน

               ลิกไนต์มีเนื้อปูนผสม หินกรวดมน หินทราย สีขาวถึงสีเทาจาง การคัดขนาดปานกลาง ดินดานสีเทาจาง มีเนื้อที่

               79,098 ไร่ หรือร้อยละ 59.41 ของพื้นที่
                              (2) ยุคจูราสซิค (Jurassic; Jpk) มีอายุประมาณ 170-150 ล้านปี ประกอบด้วยหินหินทรายแป้ง

               สีม่วงและสีม่วงแดง เนื้อปูนผสมและเนื้อไมก้า หินทราย สีเทาเขียว น้ าตาลเหลืองและหินกรวดมน มีเนื้อที่
               19,997 ไร่ หรือร้อยละ 15.02 ของพื้นที่

                           7.3 หินอัคนี (igneous rock)
                              (1) ยุคไทรแอสซิก (Triassic; Trgr) มีอายุประมาณ 250-200 ล้านปี ประกอบด้วยหินไบโอไทต์

               แกรนิต ทัวมารีนแกรนิต แกรโนไดโอไรต์ไบโอไทต์มัสโคไวต์แกรนิต มัสโคไวต์ทัวมารีนแกรนิต ไบโอไทต์ทัวมารีน

               แกรนิต มีเนื้อที่ 19,685 ไร่ หรือร้อยละ 14.79 ของพื้นที่


                        8) ธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดิน
                           จากการศึกษาข้อมูลทรัพยากรดิน (ส านักส ารวจและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2552) และข้อมูลธรณีวิทยา

               (กรมทรัพยากรธรณี, 2549) สามารถแบ่งลักษณะทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดินในพื้นที่รองรับการประกาศ
               เขตส ารวจที่ดินลุ่มน้ าน้ าย่าง จังหวัดน่าน ออกได้ดังนี้
                           8.1) ที่ราบตะกอนน้ าพา (alluvial plain) ในฤดูน้ าหลากน้ าจะน าตะกอนมาสะสมสองฝั่ง วัตถุต้น
               ก าเนิดของดินบริเวณนี้จะเป็นตะกอนน้ าพาที่เกิดจากแม่น้ าน่าน ล าน้ าย่าง ล าน้ าและห้วยสาขาที่ไหลลงสู่ล าน้ าย่าง
               รวมถึงตะกอนน้ าพาในหุบเขา (valley)

                           8.2) พื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน (denudation surface) เป็นบริเวณที่เกิดขบวนการต่างๆ ตาม
               ธรรมชาติที่ท าให้เกิดการลดระดับของผิวดิน วัตถุต้นก าเนิดดินเกิดจากวัสดุเคลื่อนย้ายและวัสดุตกค้างของหินตะกอน
               พวกหินดินดาน หินโคลน หินทราย และหินอัคนีพวกหินแกรนิต และแอนดีไซต์

                           8.3) พื้นที่ภูเขา (mountainous area) ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
               หรือที่ลาดชันเชิงซ้อน (slope complex) มีลักษณะเป็นภูเขา และเทือกเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตพัฒนา
               ที่ดินลุ่มน้ าน้ าย่าง จังหวัดน่าน หินที่พบมีทั้งหินอัคนีพวกหินแกรนิต แอนดีไซต์ และหินตะกอน พวกหินดินดาน
               หินทราย หินกรวดมน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65