Page 4 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                                                          (2)


                     พื้นที่รองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน มีเนื้อที่รวม 2,880 ไร่
               อยู่สูงประมาณ 280–360 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เนินเขา (20-35 เปอร์เซ็นต์)

               มีเนื้อที่รวม 1,396 ไร่ (ร้อยละ 48.5 ของพื้นที่)
                     ลักษณะของดิน ดินในที่ลุ่มจัดอยู่ในกลุ่มดินร่วน  ประกอบด้วย กลุ่มดินร่วนเนื้อปานกลางลึกมาก  มีเนื้อที่
               237 ไร่ (ร้อยละ 8.19 ของพื้นที่) ส่วนดินในที่ดอนจัดอยู่ในกลุ่มดินเหนียวลึกปานกลางถึงลึก มีเนื้อที่ 2,643 ไร่
               (ร้อยละ 91.81 ของพื้นที่) ประกอบด้วย กลุ่มดินเหนียวลึกปานกลาง มีเนื้อที่ 2,167 ไร่ (ร้อยละ 75.28 ของพื้นที่)

               และกลุ่มดินเหนียวลึก เนื้อที่ 476 ไร่ (ร้อยละ 16.53 ของพื้นที่)
                     ด้านศักยภาพของดิน ดินมีความเหมาะสมดีมากส าหรับปลูกมันส าปะหลัง ปาล์มน้ ามัน ยางพารา มะม่วง
               มะขาม ส้ม และลิ้นจี่ มีเนื้อที่ 1,365 ไร่ (ร้อยละ 47.37 ของพื้นที่) ดินมีความเหมาะสมดีส าหรับปลูกปาล์มน้ ามัน

               ยางพารา มะม่วง มะขาม ส้ม ล าไย และลิ้นจี่ มีข้อจ ากัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีเนื้อที่ 119 ไร่ (ร้อยละ
               4.13 ของพื้นที่) ดินมีความเหมาสมปานกลางส าหรับปลูกยางพารา ส้ม ลิ้นจี่ และล าไย มีข้อจ ากัดเรื่องสภาพพื้นที่
               มีความลาดชัน ความลึกที่พบชั้นหินพื้น และการกร่อนดิน เนื้อที่ 477 ไร่ (ร้อยละ 16.57 ของพื้นที่) และดินมีความ
               เหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกลิ้นจี่ มีข้อจ ากัดเรื่องความลึกที่พบชั้นหินพื้นและการกร่อนดิน เนื้อที่ 1,396 ไร่
               (ร้อยละ 48.50 ของพื้นที่)

                     ปัญหาทรัพยากรดิน ได้แก่ ปัญหาดินลึกปานกลาง เนื่องจากพบชั้นหินพื้นที่ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร
               ซึ่งชั้นนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชในดินชั้นล่างเพื่อหาแร่ธาตุอาหารและน้ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผล
               และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 2,167 ไร่ (ร้อยละ 75.28 ของพื้นที่) และปัญหาดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่

               119 ไร่ (ร้อยละ 4.13 ของพื้นที่) ส าหรับปัญหาพื้นที่มีความลาดชันเสี่ยงต่อการกร่อนดิน พบมากโดยมีเนื้อที่ 1,566 ไร่
               (ร้อยละ 54.40 ของพื้นที่) ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการกร่อนดินและป้องกันปัญหาการสูญเสียดินในอนาคต จึงควรมี
               การประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า โดยอาศัยแนวทางและมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าตามแนววิธีของกรมพัฒนา
               ที่ดินที่เหมาะสมกับประเภทของดินที่จ าแนก เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ส่งเสริมการ

               ใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตรที่มีการรักษาสมดุลธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนต่อไป
                     ผลจากการส ารวจดินและประเมินศักยภาพทรัพยากรดิน พร้อมทั้งจัดท าฐานข้อมูลทรัพยากรดินและแผน
               ที่ดินในการก าหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ท าให้ทราบถึงปัญหาทรัพยากรดิน และเพื่อเป็นแนวทางการจัดการและ
               การแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่ได้ ซึ่งข้อมูลดินเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ในการวางแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนา

               พื้นที่ อีกทั้งยังทราบขั้นตอนที่จะน าไปปฏิบัติในการส ารวจดินและประเมินศักยภาพทรัพยากรดินให้เป็นไปตาม
               พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 การด าเนินงานครั้งนี้ได้มีการท างานบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้ง
               ภาครัฐ เอกชนและเกษตรกรในพื้นที่ ท าให้สามารถเข้าใจถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะ
               สามารถน าไปปฏิบัติให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ได้เป็นอย่างดี
   1   2   3   4   5   6   7   8   9