Page 240 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 240

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        176




                                              - การปรับปรุงบ้ารุงดินด้วยปุ๋ยเคมี
                                                ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ การใช้

                  ปุ๋ยเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง มีดังนี้ ควรใช้ปุ๋ยเคมีควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ ควรใช้ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง ควรใช้ปุ๋ยใน
                  ปริมาณที่เหมาะสมตามที่พืชต้องการ ควรใส่ปุ๋ยให้พืชในระยะเวลาที่เหมาะสม และควรใส่ปุ๋ยให้พืชโดย

                  วิธีการที่ถูกต้อง

                                           (6) พื นที่เบ็ดเตล็ด  มีเนื้อที่ 397  ไร่ หรือร้อยละ 8.63 ของพื้นที่ด้าเนินการ
                  ได้แก่ หน่วยแผนที่ U และW

                                2)  ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                                        (1)  สภาพปัญหาโดยทั่วไปของพื้นที่ ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องดินมีความอุดม
                  สมบูรณ์ต่้า ดังนั้นควรท้าการปรับปรุงบ้ารุงดินโดยการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช คือ การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

                  หรือปุ๋ยพืชสด ควบคู่ไปกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยหมักใส่อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ เพื่อปรับโครงสร้างของดินให้มี
                  ความร่วนซุยดีขึ้น ความสามารถในการกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น และปุ๋ยคอกควรใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วย

                  ท้าให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ควรมีแปลงสาธิตการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้เกษตรกรได้
                  เห็นเป็นตัวอย่างและน้าไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ส้าหรับปัญหารองลงมาของพื้นที่ เป็นปัญหาดินตื้นหรือ

                  ตื้นมากถึงชั้นหินพื้น เกษตรกรควรปลูกพืชรากสั้น เช่น พืชไร่ หรือพืชผัก หรือขุดหลุมกว้างxยาวxลึก

                  เท่ากับ 75x75x75 เซนติเมตร แล้วน้าดินอื่นที่เหมาะสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 15-25
                  กิโลกรัมต่อหลุม มาใส่เพื่อปลูกไม้ผล บางพื้นที่ตื้นมากหรือมีเศษหินลอยหน้ามาก ไม่ควรใช้พื้นที่นั้น เหมาะ

                  ส้าหรับอนุรักษ์เป็นป่าธรรมชาติ

                                        (2) ควรมีการก้าหนดรูปแบบอนุรักษ์ดินและน้้าให้สอดคล้องกับลักษณะดินและ
                  สภาพพื้นที่ ได้แก่

                                            (2.1)    พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35  เปอร์เซ็นต์ ควรให้พื้นที่นี้เป็นเขต
                  อนุรักษ์ ควรสงวนและรักษาไว้ให้คงสภาพเป็นป่าตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร บริเวณป่าเสื่อม

                  โทรมควรปลูกป่าทดแทนเพื่อรักษาสมดุลนิเวศธรรมชาติ
                                            (2.2)  พื้นที่ที่มีปัญหาการไหลบ่าของน้้าจากที่สูงและมีความลาดชันไม่เกิน

                  15 เปอร์เซ็นต์ ควรสร้างคันดินเบนน้้า (Diversion) ที่มีปริมาตรดินขุด–ถม ประมาณ 2.4 ลูกบาศก์เมตรต่อ

                  เมตร เพื่อป้องกันน้้าไหลบ่าลงสู่พื้นที่เกษตรกรรม
                                            (2.3)  บริเวณพื้นที่ดินดอนปลูกข้าว พื้นที่นามีลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ คันนามี

                  ขนาดเล็กและเป็นผืนนาแปลงเล็กแปลงน้อย ควรปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1  เพื่อช่วยให้ดินสามารถเก็บ

                  กักน้้าได้มากขึ้นและเพียงพอส้าหรับการเจริญเติบโตของข้าว เป็นต้น
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245