Page 130 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองเทพา
P. 130

3-70




                  มีความเปนระบบโดยสมบูรณ พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกําหนดมาตรฐานสิ่งแวดลอม เชนมาตรฐาน

                  คุณภาพแมน้ําลําคลอง มาตรฐานน้ําบาดาล มาตรฐานคุณภาพอากาศเสียง และสิ่งแวดลอมในเรื่องอื่นๆ

                  กําหนดหลักเกณฑในการทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมสําหรับโครงการ
                  หรือกิจการที่ตองจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมทั้งของสวนราชการและเอกชน

                  กําหนดเขตควบคุมมลพิษเพื่อใหดําเนินการควบคุมลดและขจัดมลพิษ นอกจากนี้ยังมีมาตรการสงเสริม

                  จากหนวยงานราชการสําหรับการใหความรวมมือในการจัดตั้งระบบกําจัดของเสียในดานอุปกรณ

                  เครื่องมือเครื่องใชและวัสดุจําเปนโดยการชวยเหลือดานอากรขาเขาสําหรับอุปกรณเหลานี้ สําหรับ
                  โทษของการฝาฝนพระราชบัญญัติฉบับนี้มีโทษทั้งทางแพงและทางอาญา

                             2)  พระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม พุทธศักราช 2535 โดยควบคุมการใชที่ดินเพื่อ

                  การอุตสาหกรรม โดยกําหนดขนาดของเครื่องจักรและคนงานขั้นต่ําอยูในขายควบคุมโดยให

                  อํานาจแกรัฐมนตรีในการควบคุมการประกอบกิจการ ในดานที่ตั้งสภาพแวดลอมลักษณะอาคาร
                  สภาพภายในโรงงาน การปลอยของเสียมลพิษ ความปลอดภัยเพื่อประโยชนทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ

                  สิ่งแวดลอมความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศหรือของสาธารณะ

                        3.3.4  นโยบายที่เกี่ยวของกับการจัดทําเขตการใชที่ดินระดับลุมน้ํา

                             1)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ

                                ถือเปนแนวทางและหลักเกณฑในการดําเนินงานของหนวยงานภาครัฐปจจุบัน

                  ประเทศไทยใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยมีแนวคิดที่มี
                  ความตอเนื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 โดยยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเปนศูนยกลาง

                  ของการพัฒนา” รวมทั้งสรางสมดุลการพัฒนาในทุกมติและขับเคลื่อนใหบังเกิดผลในทางปฏิบัติ

                  ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ
                                แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 นี้ ไดเรงสรางภูมิคุมกันเพิ่มขึ้นในมติตางๆ ใหเขมแข็ง

                  ควบคูไปกับการใหความสําคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยใหมีคุณภาพกาวทันคือการเปลี่ยนแปลง

                  มีโอกาสเขาถึงทรัพยากรและไดรับประโยชนจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอยางเปนธรรม
                            2)  นโยบายพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ

                                กรอบการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณมีความสอดคลองกับ

                  แผนการบริหารราชการแผนดิน การดําเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐภายใตรัฐธรรมนูญ

                  พ.ศ. 2550 มีนโยบายที่สําคัญดังนี้
                                (2.1)  นโยบายปรับโครงสรางเศรษฐกิจภาคเกษตร

                         -              ดานการพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรโดยสงเสริมใหมีระบบประกัน

                  ความเสี่ยงสําหรับเกษตรกร จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรจัดทําทะเบียนเกษตรกร เรงรัดแกไขปญหา




                                                                        กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135