Page 128 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองเทพา
P. 128

3-68




                        3.3.2  กฎหมายที่เกี่ยวของกับทรัพยากรดิน

                             กฎหมายดานทรัพยากรดินเปนกฎหมายที่เกี่ยวของทั้งดานสิทธิ์ในที่ดิน การจัดที่ดิน

                  การใชที่ดิน รวมถึงการอนุรักษดินและน้ําไดแก
                             1)  ประมวลกฎหมายที่ดิน 2497 เปนกฎหมายที่เกี่ยวของกับสิทธิ์ในที่ดิน โดยวางหลักเกณฑ

                  เกี่ยวกับการขอเอกสารแสดงการครอบครองหรือสิทธิในที่ดินรวมทั้งหลักเกณฑในการออกเอกสาร
                  ดังกลาว เชน โฉนดและหนังสือรับรองการทําประโยชนประมวลกฎหมายที่ดินใหอํานาจอธิบดีกรมที่ดิน

                  หรือผูที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายใหเปนผูดูแลที่ดินของรัฐที่มิไดอยูในความดูแล
                  ของหนวยงานใดหนวยงานหนึ่งโดยเฉพาะ เชน ที่รกรางวางเปลา ที่ภูเขา ซึ่งการเขาครอบครอง

                  หรือเขาทําประโยชนตองไดรับอนุญาตจากอธิบดีกรมที่ดินหรือผูที่ไดรับมอบหมายเสียกอน นอกจากนี้

                  ยังไดกําหนดบทลงโทษผูฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย
                          2)  พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พุทธศักราช 2518 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)

                  พุทธศักราช 2519 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2532 เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัติ

                  ฉบับนี้คือประเทศไทยเปนประเทศเกษตรกรรม ประชากรสวนใหญมีอาชีพในการเกษตร ที่ดินจึงเปน
                  ปจจัยสําคัญและเปนรากฐานเบื้องตนของการผลิตทางเกษตรกรรม แตปจจุบันปรากฏวาเกษตรกร

                  กําลังประสบความเดือดรอนเนื่องจากตองสูญเสียสิทธิ์ในที่ดินและกลายเปนผูเชาที่ดิน ตองเสียคาเชาที่ดิน

                  ในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบํารุงรักษาจึงทําใหอัตราผลิตทางเกษตรกรรมอยูในระดับต่ําเกษตรกร
                  ไมไดรับความเปนธรรมและเสียเปรียบจากระบบการเชาที่ดินและการจําหนายผลิตผลตลอดมา ซึ่งสงผล

                  ใหเกิดภาวะความยุงยากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและการเมืองของประเทศเปนอยางมาก

                  จึงเปนความจําเปนอยางยิ่งที่รัฐจะตองดําเนินการแกไขปญหาดังกลาวโดยดวนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน

                  เพื่อชวยใหเกษตรกรมีที่ดินทํากินและใหการใชที่ดินเกิดประโยชนมากที่สุดพรอมกับการจัดระบบ
                  การผลิตและจําหนายผลิตผลเกษตรกรรมเพื่อใหความเปนธรรมแกเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อเปนการสนอง

                  แนวนโยบายแหงรัฐในการลดความเหลื่อมล้ําในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคมตามที่ได

                  กําหนดไวในรัฐธรรมนูญ จึงจําเปนตองตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นและกฎหมายฉบับนี้ยังไดกําหนดให

                  เกษตรกรผูที่ไดรับสิทธิ์ในที่ดินไมสามารถแบงแยกหรือโอนใหผูอื่นได ยกเวนเปนมรดกตกทอดแกทายาท
                             3)  พระราชบัญญัติการผังเมือง พุทธศักราช 2518 แกไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2531

                  (ฉบับที่50) กฎหมายฉบับนี้ไดกําหนดใหมีผังเมืองสองชนิดเพื่อประโยชนในการพัฒนาเมืองหรือชนบท คือ

                  ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ โดยผังเมืองรวมเปนแผนสําหรับการพัฒนาทั้งเมืองและชนบทรวมกัน
                  โดยการกําหนดเขตการใชที่ดินใหแตละเขตใชประโยชนในกิจกรรมใดไดบางเพื่อใหเกิดความเหมาะสมที่สุด

                  การใชที่ดินในบริเวณที่อยูในเขตผังเมืองรวมเมื่อประกาศใชผังเมืองรวมในพื้นที่ใดแลวหากผูใดฝาฝน

                  จะมีโทษทางอาญา การจัดทําผังเมืองรวมจะตองจัดใหมีการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนในทองถิ่น






                                                                        กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133