Page 100 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองเทพา
P. 100

3-40




                             3.1.2.4  น้ําใตดิน

                                    ก.) แหลงน้ําใตดิน จากขอมูลธรณีสัณฐานมาตราสวน 1:1,000,000 กรมทรัพยากรธรณี

                  นํามาวิเคราะหชั้นน้ําที่พบในลุมน้ําสาขาคลองเทพา รายละเอียดดังนี้

                                    (1) ชั้นหินอุมน้ําตะกอนน้ําพา (Floodplain Deposits Aquifers : Qfd) ประกอบดวย
                  กรวดทรายทรายแปงและดินเหนียวโดยชั้นน้ําบาดาลจะเก็บอยูในชองระหวางเม็ดกรวดและเม็ดทรายที่

                  สะสมตัวอยูในที่ราบลุมน้ําหลากหรือรองน้ําเกา ใหน้ําประมาณ 2–10 ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง ที่

                  ระดับความลึกประมาณ 10-40 เมตร คุณภาพน้ําดี

                                    (2) ชั้นหินอุมน้ําตะกอนเศษหินเชิงเขา (Colluvium Aquifers : Qcl) ประกอบดวย
                  ดินเหนียวปนทรายคลุกเคลาปะปนดวยเศษหินแตก (rock fragments)  ที่มีลักษณะเปนเหลี่ยมขนาด

                  แตกตางกันไปตั้งแตขนาดใหญจนถึงเล็กไมมีการจัดคัดขนาดของเม็ดตะกอน ปริมาณน้ําอยูในเกณฑ

                  ระหวาง 2-5 ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง
                                    (3) ชั้นหินอุมน้ําตะกอนตะพักน้ํายุคเกา (Older Terrace Deposits: Qot)

                  ประกอบดวยชั้นกรวดปนดินเหนียวหลายชั้น สลับชั้นกลางดวยดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย โดยน้ํา

                  บาดาลถูกกักเก็บอยูในชั้นกรวดทราย (gravel beds) และกอตัวเปนกลุมของชั้นน้ําบาดาล (multi-aquifers) โดยมี
                  การใหปริมาณน้ํามากกวา 40 ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง

                                    (4) ชั้นหินอุมน้ําโคราชตอนกลาง (Middle Khorat Aquifers: Jmk)

                  ประกอบดวยหินทราย  หินทรายแปง  หินดินดาน  และหินกรวดมน  ซึ่งน้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายใน

                  รอยแตก  รอยแยก  รอยเลื่อน  รอยตอระหวางชั้น  และบริเวณที่หินผุ  ความลึกของน้ําบาดาลโดยเฉลี่ย
                  20-40 เมตร  ปริมาณน้ําที่ไดอยูในเกณฑ  2-10 ลูกบาศกเมตร/เซนติเมตร  ทั้งนี้ขึ้นอยูกับโครงสราง

                  ทางธรณีวิทยา  คุณภาพน้ําอยูในเกณฑดี

                                    (5) ชั้นหินใหน้ําโคราชตอนลาง (Lower  Khorat  Aquifers; TR-Jlk)

                  ประกอบไปดวยหินทราย และหินกรวดมน น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายในรอยแตก รอยแยก และ
                  บริเวณที่หินผุ  พบเปนหินโผลที่ตําบลเกาะใหญ  และบริเวณ วัดพระโคะ ตําบลเชิงแส อําเภอกระแสสินธุ

                                    (6)  ชั้นหินใหน้ําคารบอเนต  (Carbonate Aquifer) ชั้นหินใหน้ําหินปูนยุคไทร

                  แอสสิก (Triassic Limestone Aquifer; TRc) ประกอบดวยหินปูนสีเทา พบเปนหินโผลเปนหยอม ๆ
                  อยูที่ ตําบลคูหา ตําบลเขาแดง อําเภอสะบายอย

                                    (7)  ชั้นหินอุมน้ําหินชุดลําปาง  (Lampang Aquifers; TRlp)  ประกอบไปดวย

                  หินทราย  หินทรายแปง  หินดินดาน  หินปูน  และหินกรวดมนภูเขาไฟ  น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายใน

                  รอยแตก รอยแยก รอยเลื่อน และรอยตอระหวางชั้นหิน พบกระจายตัวในเขตอําเภอจะนะ อําเภอนาทวี
                  อําเภอสะเดา อําเภอเทพา และอําเภอสะบายอย





                                                                        กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105