Page 97 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 97

3-39





                  โดยการวิธีกลนี้เป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายได้ทันที แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง และในระหว่างก่อสร้าง

                  ต้องพิถีพิถันท้าให้ดี มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้นไปอีก ซึ่งสามารถท้าได้หลายวิธีคือ

                                         (2.1)  การปลูกพืชตามแนวระดับ (Control  cultivation)  ได้แก่ การไถพรวน
                  ปลูกและเก็บเกี่ยวพืชขนานไปตามแนวระดับ ขวางความลาดชันของพื้นที่ เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ที่มี

                  ความลาดชัน 2-7 เปอร์เซ็นต์

                                         (2.2)  การสร้างคันดินกั้นน้้า (Terracing)  เป็นการสร้างคันดินหรือร่องน้้า

                  ขวางความลาดชันของพื้นที่เพื่อลดความยาวของพื้นที่ที่รับน้้าฝนให้สั้นลง อย่างไรก็ตามการที่จะให้
                  คันดินกั้นน้้ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินนั้นจะต้องท้าการปลูกพืช

                  ตามแนวระดับ และใช้มาตรการอื่นๆ ผสมผสานไปด้วย ชนิดของคันดินแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

                                            (ก)  คันดินขั้นบันได (Bench Terrace) ท้าโดยการปรับพื้นที่ลาดชันให้

                  เป็นขั้นบันไดซึ่งนอกจากจะลดความยาวของความลาดชันของพื้นที่แล้ว ยังเป็นลดการลาดชันของ
                  พื้นที่ลงอีกด้วย ขั้นบันไดดินนี้ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป

                  และดินต้องเป็นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร

                                            (ข)  คันดินกั้นน้้า (Field Terrace) เป็นการสร้างคันดินและร่องน้้าขวาง
                  ความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วงๆ ซึ่งอาจจะเป็นคันดินแบบลดระดับ (Graded  terrace)  เพื่อช่วยระบายน้้า

                  หรือเป็นแบบระดับ (Level) เพื่อช่วยกักเก็บน้้าไว้

                                         (2.3)  การปรับพื้นที่เฉพาะหลุม (Individual basin) เป็นการปรับพื้นที่
                  เป็นช่วงๆ เฉพาะบริเวณหลุมปลูกต้นไม้ เหมาะที่จะใช้กับไม้ผล และไม้ยืนต้นต่างๆ ขนาดของหลุมยิ่ง

                  กว้างมากก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างของดินได้สูง

                                         (2.4)  คูรับน้้ารอบเขา (Hillside  ditch)  เป็นคูรับน้้าที่จัดท้าขึ้นขวางความ
                  ลาดชันของพื้นที่เป็นช่วง ๆโดยมีระดับของร่องน้้าลาดไปยังทางน้้าที่จัดท้าขึ้นหรือบริเวณที่รับน้้าได้

                  เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือแปลงพืชคลุมหนา ๆ

                                         (2.5)  คันดินเบนน้้า (Diversion) เป็นคันดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเบนน้้า

                  เหนือพื้นที่ไม่ให้เข้าไปรบกวนในไร่นา ที่พักอาศัย ฯลฯ หรืออาจจะเบนน้้าไปลงอ่างเก็บน้้าก็ได้
                                         (2.6)  เขื่อนกั้นร่องน้้า (Check dam) เป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการชะล้าง

                  พังทลายแบบร่องลึกโดยสร้างขวางทางน้้าเป็นช่วง ๆ ในร่องน้้าที่เกิดการกัดเซาะ เพื่อชะลอความเร็ว

                  ของน้้า ช่วยให้เกิดการตกตะกอนทับถมในร่องน้้า ท้าให้ร่องน้้าตื้นเขินสามารถน้ามาใช้ประโยชน์
                  ได้ต่อไป เขื่อนกั้นร่องน้้านี้อาจสร้างด้วยเศษไม้ ท่อนไม้ หิน ดิน หรือคอนกรีตก็ได้

                                         (2.7)  ทางระบายน้้า (Waterway) สร้างขึ้นเพื่อรับน้้าจากคันดินกั้นน้้า คูรับน้้า

                  รอบเขาหรือบริเวณระบายน้้าของอ่างเก็บน้้า เพื่อควบคุมการไหลของน้้าไปยังที่ก้าหนดไว้ โดยไม่ให้






                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองนาทวี
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102