Page 112 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 112

3-54





                    3.2  การประเมินคุณภาพที่ดิน


                           การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยที่ดินต่อการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี

                  กลุ่มวางแผนทรัพยากรน้้าเพื่อการพัฒนาที่ดินได้เลือกใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินตามหลักการของ

                  FAO Framework ซึ่งมีจ้านวน 2 รูปแบบ คือ
                           1)  การประเมินทางด้านคุณภาพ เป็นการประเมินเชิงกายภาพว่าที่ดินนั้นๆ มีความเหมาะสมมาก

                  หรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ
                           2)  การประเมินทางด้านปริมาณหรือเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูปผลผลิตที่ได้รับ

                  จ้านวนเงินในการลงทุนและจ้านวนเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ                                                                                        3-54

                            3.2.1  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ
                                การศึกษาได้ด้าเนินการประเมินคุณภาพที่ดินทางกายภาพเพียงด้านเดียว โดย

                  ศึกษาการประเมินคุณภาพดินร่วมกับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้ก้าหนดเป็นตัวแทนการ

                  เกษตรกรรมหลักในลุ่มน้้าสาขา รวมทั้งยังได้ประเมินคุณภาพที่ดินจากพืชที่ควรแนะน้าในลุ่มน้้าสาขา

                  คลองนาทวี การวิเคราะห์ได้ค้านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละด้านของดินที่
                  แตกต่างกัน โดยอาศัยคุณลักษณะดินแตกต่างกันไปตามวัตถุต้นก้าเนิดของดิน ซึ่งคุณลักษณะที่ดินที่

                  ใช้ในการแสดงค่าเพื่อวัดระดับการเจริญเติบโตแตกต่างกัน

                                   การเลือกคุณลักษณะที่ดินเพื่อใช้เป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินในการประเมินความ
                  เหมาะสมที่ดินตามระบบ FAO  ก้าหนดในระบบไว้ 25 ชนิด ส้าหรับประเทศไทยใช้คุณลักษณะดิน

                  เพื่อใช้เป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินในการประเมินความเหมาะสมที่ดิน 13 ชนิด โดยตัวแทนคุณภาพ

                  ที่ดินแต่ละตัวมีข้อจ้ากัดในการเลือกใช้จากปัจจัยด้าน 1) มีผลต่อพืชหรือประเภทการใช้ที่ดินนั้นๆ
                  2) พบค่าวิกฤตในพื้นที่ปลูกนั้นๆ 3) การรวบรวมข้อมูลต้องสามารถปฏิบัติได้จริงจากเงื่อนไขดังกล่าว

                  จ้าเป็นต้องจัดล้าดับความส้าคัญคุณภาพที่ดินก่อนที่จะน้ามาประเมิน ตามเงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพ

                  ที่ดิน
                                เมื่อท้าการจัดล้าดับความส้าคัญแล้วพบว่า เงื่อนไขหลักขึ้นอยู่กับการรวบรวม

                  ข้อมูลคุณลักษณะที่ดิน ดังนั้นเมื่อน้ามาใช้ในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของพืชต่างๆ ใน

                  เขตลุ่มน้้าสาขา จึงมีปัจจัยหลัก 7 ปัจจัย ที่น้ามาวิเคราะห์ ดังนี้
                                   1)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m)

                                   2)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o)

                                   3)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s)
                                 4)  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n)







                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117