Page 109 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 109

3-51





                  ทุเรียนแก่แล้วเท่านั้น โดยสังเกตจากลักษณะของผลและนับอายุ ซึ่งการนับอายุทุเรียนนั้นจะนับ

                  จ้านวนจากวันหลังจากดอกบานจนถึงวันที่ผลแก่ เช่น พันธุ์ทุเรียนบ้านใช้เวลา 90-120  วัน พันธุ์

                  หมอนทองใช้เวลา 140-150 วันเป็นต้น การตัดผลทุเรียน ควรตัดเหนือปลิงของก้านผลด้วยมีดคมและ
                  สะอาด  และส่งผลทุเรียนลงมาจากต้นเพื่อให้คนที่รอรับอยู่ด้านล่างบริเวณโคนต้น ระวังอย่าให้ผลตก

                  กระทบพื้น  วิธีที่นิยมใช้ในการเก็บเกี่ยวคือการใช้เชือกโรย หรือใช้กระสอบป่านตระหวัดรับผล

                  ผลผลิตเฉลี่ยทุเรียนต่อ 1 ไร่ประมาณ 1,100-1,200 กิโลกรัม
                            1.7)  แตงโม  เกษตรกรนิยมปลูกแตงโมพันธุ์พันธุ์จินตราเนื้อแดง ตอร์ปิโด พันธุ์กินรี

                  พันธุ์โกเมน เริ่มปลูกตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม โดยใช้เมล็ดพันธุ์หยอดเป็นหลุมให้
                  แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงนั้นควรให้ห่างจากกันเท่ากับความยาวของเถา

                  แตงโม หรือประมาณ 2-3 เมตร หยอดหลุมละ 5 เมล็ด เมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดน้้าให้ชุ่ม หลังปลูก

                  แล้ว 7  วัน ให้เพิ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ ประมาณ 100  กรัม/ต้น รอบๆ ต้น  รดด้วยน้้าสกัดชีวภาพ ใส่ปุ๋ยหมัก
                  ชีวภาพทุกสัปดาห์ เมื่อแตงโมขึ้นมามีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2-3 ต้น โดยคัดเลือกเอา

                  แต่ต้นแข็งแรงไว้ ขณะที่ผลมีขนาดเล็ก ควรน้าฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมอ้าพรางแมลงวันทอง   เมื่อผล
                  แตงโมเท่าก้าปั้น ควรเอาฟางรองก้นแตงโม โดยให้ผลตั้งตรง แสงแดดส่องรอบๆ ผล ท้าให้แตงโมมีสี

                  แดงทั้งผล ต้นหนึ่งควรไว้ผลไม่เกิน 5 ผล ควรเก็บแตงโมเมื่อหัวขั้วแห้ง ผิวมีนวล เริ่มเก็บเกี่ยวเก็บ

                  ผลผลิตได้ภายหลังดอกบาน เฉลี่ยประมาณ  40-43  วัน มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด
                  เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีด

                  ฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดู ถ้ามีเสียงผสมกันระหว่างเสียงกังวาน และเสียงทึบแตงโมจะแก่พอดี

                  ผลผลิตเฉลี่ย 3,000-3,500 กิโลกรัม/ไร่
                            1.8)  สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งนิยมเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งกุลาด้า โดยนิยม

                  เลี้ยงทั้งแบบนากุ้งธรรมชาติที่มีการปล่อยพันธุ์กุ้งเสริมและนากุ้งแบบพัฒนาและจะต้องคัดเลือกสาย

                  พันธุ์กุ้งที่มีความแข็งแรง ขนาดตัวกุ้งมีความไล่เลี่ยกัน ทั้งกุ้งขาวและกุ้งกุลาด้าสามารถเลี้ยงในน้้าความ
                  เค็มต่้าถึงขนาดจัดว่าเป็นน้้าจืดถึงน้้าที่มีความเค็มสูงและจะต้องท้าการเปลี่ยนถ่ายน้้าที่สะอาดใน

                  ปริมาณมาก อุณหภูมิที่เหมาะสมของการเลี้ยงกุ้งขาวคือ 27-30 องศาเซลเซียส กุ้งขาวกินอาหารได้ทั้ง

                  พืชและสัตว์เช่นโปรตีนพวกอาหารเม็ดส้าเร็จรูป สาหร่าย แพลงตอน เป็นต้น โดยจะให้วันละ 3-4  รอบ

                  ต่อวัน ระยะในการเพาะเลี้ยงอยู่ระหว่าง 90-120 วัน เริ่มเก็บผลผลิตกุ้งประมาณช่วงเดือนสิงหาคมเป็น
                  ต้นไป ผลผลิตเฉลี่ย 40-50 ตัว/กิโลกรัม

                             2)  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรชลประทาน สามารถคัดเลือกประเภท
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้

                              2.1 ข้าวนาปี เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์เล็บนก  เข็มทอง มีการปลูกแบบนาด้า มีการเตรียม

                  ดินเพื่อท้าแปลงกล้าเป็นระยะเวลา 30  วันในช่วงเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นท้าการไถดะ ไถแปร





                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองนาทวี
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114