Page 172 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 172

4-13





                               2.3.1  เขตท านา (หน่วยแผนที่ 231)

                                    มีพื้นที่ 10,243  ไร่ หรือร้อยละ 1.57  ของพื้นที่ลุ่มน้้า สภาพพื้นที่เป็น ดินตื้น

                  มีกรวดทรายปนอยู่ในชั้นดิน ลักษณะทางกายภาพของดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวเนื่องจากเป็นดินตื้น
                  และการระบายน้้าดีถึงดีมาก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพของนาร้าง

                                    แนวทางการพัฒนา

                                    1.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดการน้้าควรพิจารณาแหล่งน้้าขนาดเล็กในพื้นที่
                  รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของแหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ให้สามารถกักเก็บน้้าได้ดีขึ้น

                                    2.  ส่งเสริมทางเลือกในการพัฒนาที่ดินโดยให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน

                  ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผลไม้ยืนต้น ร่วมกัน
                                    3.  ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินโดยส่งเสริมชนิด                                               3-44

                  พันธุ์ที่เหมาะสมในพื้นที่ หากต้องการน้าพื้นที่นาร้างมาใช้ในการปลูกข้าวต้องปรับปรุงดินใน

                  พื้นที่ดังกล่าวก่อนท้านา
                                    4.  ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพของดินโดยเน้นการปรับปรุง

                  โครงสร้างดินให้ดีขึ้น จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรคลุมดิน ให้ดินมีความชื้นและสามารถย่อยสลาย

                  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

                                    5.  ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเร่งพด.1 พด.2 และ พด.12 ในการท้าปุ๋ยหมัก
                  ปุ๋ยอินทรีย์น้้า และเพื่อสร้างธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้กับพืช เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน

                               2.3.2  เขตปลูกไม้ผล (หน่วยแผนที่ 233)

                                    มีพื้นที่ 520 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ลักษณะของดินส่วนใหญ่

                  เป็นดินตื้น มักพบชั้นกรวด หิน ในระดับต่้ากว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน บางบริเวณเป็นพื้นที่ดิน
                  ทรายจัด ดินมีการระบายน้้าดีและความสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่้า เกษตรกรปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน

                  มังคุด เงาะ มะม่วงหิมพานต์ และไม้ผลผสม โดยอาศัยน้้าฝนเป็นหลัก จากการประเมินคุณภาพที่ดิน

                  ทางกายภาพ พบว่า ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย มีข้อจ้ากัดเรื่องการหยั่งรากของพืช รวมถึงมี
                  แนวโน้มในการชะล้างพังทลายของดินสูง

                                    แนวทางการพัฒนา

                                    1.  ด้าเนินการพัฒนาแหล่งน้้าขนาดเล็กในเขตพื้นที่นี้ รวมทั้งการปรับปรุง
                  ประสิทธิภาพของแหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ล้าคลองสาธารณะ ให้มีการกักเก็บน้้าได้ดีขึ้น

                                    2.  ส่งเสริมให้เกษตรกรท้าการเพาะปลูกไม้ผลในช่วงระยะที่ดินมีความชื้น

                  ที่เหมาะสมต่อพืช เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรรมโดยอาศัยน้้าฝนเป็นหลัก








                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองปะเหลียน
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177