Page 126 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียน
P. 126

3-58





                  ขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร มีระยะระหว่างต้น 2.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 7-8 เมตร มีปริมาณ 80-91 ต้นต่อไร่

                  วิธีการดูแลรักษามีการใส่ปุ๋ยด้วยกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝนประมาณพฤษภาคม – มิถุนายน ใส่ปุ๋ยสูตร

                  16-11-14 ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14 มีอัตราการใช้ต้นละประมาณ
                  500-600 กรัมต่อไร่  ยางพาราสามารถเปิดกรีดได้ เมื่ออายุประมาณ 7  ปี เปิดหน้ายางช่วงเดือน

                  ตุลาคมเป็นต้นไป นิยมใช้แรงงานคนเป็นหลักในการเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ย 200-300 กิโลกรัมต่อไร่

                                1.4  )  มะพร้าว เกษตรนิยมปลูกมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ชุมพรลูกผสม

                  โดยนิยมปลูกกันในช่วงหน้าฝนขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินตรงกลางหลุมขนาด
                  เท่าผลมะพร้าว ใช้ปูนขาวหรือยากันราทาตรงรอยตัดวางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรงเอาหน่อ

                  มะพร้าววางลงจัดรากให้แผ่ตามธรรมชาติ  เอาดินกลบเหยียบด้านข้างให้แน่นกลบดินให้เสมอผิว                                                          3-58

                  ของผลมะพร้าว  ปักหลักกันลมโยกในระยะแรกๆ ควรท้าร่มบังแดดด้วย การดูแลรักษา  การให้น้้า

                  ในช่วง  1-2  ปีแรก  การให้น้้าแก่ต้นมะพร้าวเป็นสิ่งจ้าเป็นในฤดูแล้ง ควรรดน้้าอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
                  และใช้เศษหญ้าคลุมโคนมะพร้าวเพื่อรักษาความชื้น ใส่ปุ๋ยและก้าจัดวัชพืชอย่างสม่้าเสมอ เริ่มเก็บ

                  ผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนผลมะพร้าวเริ่มแก่เมื่ออายุประมาณ 11-12  เดือน เกษตรกร

                  นิยมสอยมะพร้าวทุกๆ 45-60 วัน โดยนิยมใช้ไม้ไผ่ล้ายาวๆ ที่มีตะขอผูกติดปลายล้า ใช้ตะขอเกี่ยว
                  ทะลายที่มีผลแก่แล้วดึงกระตุกให้ผลหลุดลงมา แต่ถ้ามะพร้าวสูงมาก มักใช้ลิงในการเก็บแทน ผลผลิต

                  เฉลี่ย 500-800 ผลต่อไร่ต่อปี

                             2)  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรชลประทาน สามารถคัดเลือกประเภทการ

                  ใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้
                              2.1)  ข้าวนาปี เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี พันธุ์เข็มทอง มีการปลูกแบบ

                  นาด้า มีการเตรียมดินเพื่อท้าแปลงกล้าเป็นระยะเวลา 30 วัน ในช่วงเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นท้าการไถดะ

                  ไถแปร คราดเพื่อท้าเทือก และท้าการปักด้าในเดือนสิงหาคม มีการจัดการโดยใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกรอง
                  พื้นที่ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกรวงใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0

                  อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ผลผลิตประมาณ 350-450

                  กิโลกรัมต่อไร่
                                2.2) ยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกยางพาราสายพันธุ์ RRIM 600  ปลูกในช่วง

                  ต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม มีวิธีการปลูกแบบขุดหลุมปลูก หลุมมีขนาด

                  50x50x50  เซนติเมตร มีระยะระหว่างต้น 2.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 7-8 เมตร มีปริมาณ 80-91 ต้นต่อไร่

                  วิธีการดูแลรักษามีการใส่ปุ๋ยด้วยกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน ใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14
                  ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14 มีอัตราการใช้ต้นละประมาณ 500-600









                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131