Page 149 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองละงู
P. 149

4-6





                                    7.  ควรจัดท้าแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้จากธรรมชาติหรือ

                  กิจกรรมของมนุษย์

                                    8.  ส่งเสริมความรู้ในเรื่องการปรับปรุงบ้ารุงดิน รวมถึงการป้องกันการชะล้าง
                  พังทลายของดินให้ชาวบ้านได้เข้าใจและตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

                                    9.  ส่งเสริมให้มีระบบอนุรักษ์ดินและน้้าควบคู่ไปกับการรักษาสภาพป่าไม้ เพื่อลด
                  ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน


                      2.  เขตเกษตรกรรม
                        มีเนื้อที่ 292,910 ไร่ หรือร้อยละ 55.56  ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา เป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตป่า

                  ตามกฎหมาย นอกบริเวณที่มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ในลุ่มน้้าสาขา

                  ปลูกยางพารา ปาล์มน้้ามัน และไม้ผลชนิดต่างๆ พื้นที่ดังกล่าว มีความส้าคัญต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรและ

                  เศรษฐกิจของประเทศ สามารถแบ่งตามความเหมาะสมของที่ดิน ศักยภาพของพื้นที่และแนวโน้มของ
                  การพัฒนาที่ดินด้านการเกษตร แบ่งได้ 4 เขต ได้แก่


                        2.1   เขตเกษตรก้าวหน้า (หน่วยแผนที่ 22)
                               มีเนื้อที่ 84,012 ไร่ หรือร้อยละ 15.94 ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา เขตนี้เกษตรกรท้าการเกษตรโดย

                  อาศัยน้้าฝนเป็นหลัก ดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลางถึงสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ท้านาครั้งเดียว

                  หรือหากปลูกไม้ยืนต้นก็ควรปลูกยางพาราและปาล์มน้้ามัน เป็นหลัก ปัญหาหลักที่พบในเขตนี้ได้แก่
                  ปัญหาเรื่องปริมาณน้้าที่มากเกินไปในช่วงฤดูฝนและดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง สามารถแบ่งเขต

                  การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตได้ 3 เขต ดังนี้

                               2.1.1  เขตท านา (หน่วยแผนที่ 221)

                                    มีเนื้อที่ 5,172 ไร่ หรือร้อยละ 0.98 ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา ดินมีความเหมาะสม
                  ทางกายภาพปานกลาง

                                    แนวทางการพัฒนา

                                    1.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดการน้้าควรพิจารณาแหล่งน้้าขนาดเล็กในพื้นที่

                  รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของแหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ให้สามารถกักเก็บน้้าได้ดีขึ้น
                                    2.  ควรปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

                  ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตามความเหมาะสมของคุณภาพดิน

                                    3.  ส่งเสริมทางเลือกในการพัฒนาที่ดินโดยให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน
                  ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผลยืนต้น ร่วมกัน

                                    4.  ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันให้ชุมชนมีโรงสีข้าวเป็นของ

                  กลุ่มและสร้างอ้านาจต่อรองทางการตลาด




                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154