Page 166 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 166

3-90





                             4)  พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พุทธศักราช 2551 เหตุผลในการประกาศใช้

                  พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือเนื่องจากพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พุทธศักราช 2526 ได้ใช้บังคับมาเป็น

                  เวลานานแล้วมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และโดยที่ปัจจุบันมีปัญหา

                  ความเสื่อมโทรมของดินเพราะไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้้าท้าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
                  ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติให้หน่วยงานของรัฐสามารถ

                  เข้าไปด้าเนินการป้องกันรักษาสภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มและเกิดการชะล้าง

                  พังทลายของดินอย่างรุนแรง และเพื่อให้การใช้ที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์
                  สูงสุดสมควรก้าหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส้ารวจความอุดมสมบูรณ์

                  ของดินตามธรรมชาติ ความเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ที่ดินและการก้าหนดการอนุรักษ์ดินและ

                  น้้า การวิเคราะห์ตรวจสอบตัวอย่างดินหรือการปรับปรุงดินหรือที่ดิน ตลอดจนก้าหนดมาตรการห้าม

                  กระท้าการใดๆ รวมถึงการท้าให้ที่ดินเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีหรือวัตถุอื่นใด
                             ตามพระราชบัญญัติ “การพัฒนาที่ดิน”หมายความว่าการกระท้าใดๆ ต่อดินหรือที่ดิน

                  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของดินหรือที่ดินหรือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น

                  และหมายความรวมถึงการปรับปรุงดินหรือที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติหรือ
                  ขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ดินและน้้าเพื่อรักษาดุลธรรมชาติ

                  หรือเพื่อความเหมาะสมในการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม


                      3.3.3  กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
                             กฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องและ

                  เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

                             1)  พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช 2535
                  มีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติในทุกด้านเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างถูกต้องและสมดุล

                  แก้ไขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรอันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

                  ซึ่งต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างจ้ากัด พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ก้าหนดให้มีคณะกรรมการ

                  สิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้นเพื่อก้าหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและก้ากับดูแลให้มีการออกพระราชกฤษฎีกา
                  กฎกระทรวงข้อบังคับ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ประกาศระเบียบและค้าสั่งที่จ้าเป็นเพื่อให้กฎหมาย

                  มีความเป็นระบบโดยสมบูรณ์ พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังก้าหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เช่นมาตรฐาน

                  คุณภาพแม่น้้าล้าคลอง มาตรฐานน้้าบาดาล มาตรฐานคุณภาพอากาศเสียง และสิ่งแวดล้อมในเรื่องอื่นๆ
                  ก้าหนดหลักเกณฑ์ในการท้ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส้าหรับโครงการ

                  หรือกิจการที่ต้องจัดท้ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งของส่วนราชการและเอกชน

                  ก้าหนดเขตควบคุมมลพิษเพื่อให้ด้าเนินการควบคุมลดและขจัดมลพิษ นอกจากนี้ยังมีมาตรการส่งเสริม





                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171