Page 12 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 12

1-2






                  พื้นที่ และความต้องการของเกษตรกร ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ รวมถึงค้านึงถึงความสัมพันธ์

                  ระหว่างทรัพยากรที่ดินกับปริมาณน้้าในลุ่มน้้าสาขา เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการปลูกและ

                  การจัดการได้เหมาะสม อีกทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ มาตรการด้าเนินงานพัฒนาลุ่มน้้าสาขา
                  ภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง เพื่อมุ่งหวังให้เป็นแนวทางเริ่มต้นในการศึกษาความเหมาะสมเพื่อ

                  แปลงแผนงานไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม


                  1.2  วัตถุประสงค์

                        1)  ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านเศรษฐกิจสังคม
                        2)  ประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพและด้านเศรษฐกิจ

                        3) ก้าหนดบริเวณการใช้ที่ดินตามศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเสนอมาตรการ
                  ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและการพัฒนาการเกษตรให้สอดคล้องกับนโยบายการใช้ที่ดิน

                  ของรัฐ


                  1.3  ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินงาน

                        โครงการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง ด้าเนินการเมื่อเดือน

                  ตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน 2557
                        สถานที่ด้าเนินการอยู่ในขอบเขตลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง (2513) มีเนื้อที่

                  1,285,312  ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอ้าเภอท่าแพ อ้าเภอควนกาหลง  อ้าเภอควนโดน อ้าเภอละงู
                  อ้าเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล และบางส่วนของอ้าเภอปะเหลียน อ้าเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง


                  1.4  ขั้นตอนและวิธีการด าเนินงาน

                        1)  ประมวลประเด็นปัญหาที่เกิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้้า

                  ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการพัฒนาในอดีตที่ผ่านมา
                        2)  รวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทางด้านทรัพยากรต่างๆ คือ ดิน ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ น้้า พืชพรรณ

                  ทั้งด้านสถานภาพและการใช้ประโยชน์ ข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในภาพรวมและเฉพาะด้าน
                  นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีทั้ง

                  ข้อมูลทุติยภูมิ โดยรวบรวมจากหน่วยงาน เอกสารผลการวิจัยต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งจะจัดหา

                  ขึ้นมาเองตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
                        3)  วิเคราะห์ข้อมูล

                           3.1) ข้อมูลทั่วไปเป็นการวิเคราะห์ในด้านข้อเท็จจริง ปัญหาและการแก้ไขตลอดจน

                  สถานการณ์ในปัจจุบันของข้อมูลแต่ละด้านบริเวณพื้นที่ลุ่มน้้าโดยเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะน้ามาใช้









                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17