Page 57 - การวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติและการกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินตามศักยภาพพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองจันดี (รหัส2202)
P. 57

41




                                     - ชั้นหินใหน้ําหินปูนอายุเพอรเมียน   (Permian  Limestone  Aquifers  :  Pc)  มี

                  เนื้อที่ประมาณ  17,117  ไร หรือรอยละ  4.28 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา หรือหินปูนราชบุรี ประกอบดวย

                  หินปูนและหินปูนเนื้อโดโลไมต เปนชั้นหนาถึงชั้นบาง น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายในรอยแตก
                  รอยแยก รอยเลื่อน ถ้ําหรือโพรง ความลึกของชั้นน้ําบาดาลโดยเฉลี่ย 20-40 เมตร บางบริเวณอาจตอง

                  เจาะลึกถึง 100 เมตร และปริมาณน้ําที่ไดอยูในเกณฑ 10-20  ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง คุณภาพน้ําจืด

                  แตมักมีความกระดางสูง

                                     - ชั้นหินใหน้ําหินปูนอายุออรโดวิเชียน (Ordovician Limestone Aquifers : Oc) มี
                  เนื้อที่ประมาณ 10,420 ไร หรือรอยละ 2.61  ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา หรือหินปูนชุดทุงสงประกอบดวย

                  หินปูน และหินปูนเนื้อดิน บางแหงเปนหินหนาและบางแหงเปนชั้น น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายใน

                  รอยแตก รอยแยก   รอยเลื่อน  ถ้ําหรือโพรง  ความลึกที่เจาะน้ําบาดาลโดยเฉลี่ย 20-40 เมตร แตถา
                  เจาะบอบาดาลบนที่สูงอาจตองเจาะลึกถึง 100 เมตร ปริมาณน้ําที่ไดอยูในเกณฑ 2-10  ลูกบาศกเมตร

                  ตอชั่วโมง แตบริเวณที่ใหน้ําสูง 10-20  ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง  หรือมากกวา คุณภาพน้ําจืดแตมักมี

                  ความกระดางสูง

                                     - ชั้นหินใหน้ําหินแปร   (Metamorphic  Aquifers  :  SDmm) มีเนื้อที่ประมาณ
                  164,323 ไร หรือรอยละ 41.09 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา  ชั้นหินใหน้ําดังกลาวประกอบดวยหินควอรตซ

                  ชีสต หินไมกาชีสต หินควอรตไซต หินฟลไลต และหินออน น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายในรอยแตก

                  รอยแยก ระนาบรอยเลื่อนและบริเวณหินผุ ความลึกที่พัฒนา   น้ําบาดาล 20-50 เมตร บางบริเวณลึก
                  มากกวา 70 เมตร ปริมาณน้ําที่พัฒนาไดอยูในเกณฑ 2-10 ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง และคุณภาพน้ําจืด

                                     - ชั้นหินใหน้ําหินชั้นกึ่งแปรอายุแคมเบียน (Cambrian Metasediments Aquifer:

                  Ems) มีเนื้อที่ประมาณ  4,319 ไร หรือรอยละ  1.08 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา   ชั้นหินใหน้ําดังกลาว
                  ประกอบดวยหิน ทรายหินทรายแปง บางบริเวณถูกกระบวนการแปรสภาพไปเปนหินควอรตไซต

                  และหินฟลไลต น้ําบาดาลถูกกักเก็บอยูภายในรอยแตก  รอยแยก ระนาบรอยเลื่อนและบริเวณหินผุ

                  ความลึกที่พัฒนา น้ําบาดาล 20-50 เมตร บางบริเวณลึกมากกวา 70 เมตร  ปริมาณน้ําที่ไดนอยกวา 2
                  ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง และคุณภาพน้ําจืด

                                     - หินอัคนี (Igneous Rock Aquifers : Gr) มีเนื้อที่ประมาณ 49,943 ไร หรือรอยละ

                  12.49 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา ประกอบดวยหินไบโอไทต-มัสโคไวตแกรนิต ลักษณะที่พบ โดยทั่วไป

                  เปนหินเนื้อแนนแข็ง มีศักยภาพในการใหน้ําบาดาลต่ํา น้ําบาดาลจะถูกกักเก็บอยูภายในรอย  แตก
                  รอยแยก หรือรอยเลื่อนภายในชั้นหิน และบางสวนจะถูกกักเก็บอยูบริเวณหินผุ และมักอยูใน

                  ระดับตื้นๆ คุณสมบัติของหินเหลานี้เมื่อผุพังมักจะสลายเปนดินเหนียวปนทราย ไมเหมาะในการ

                  กักเก็บน้ําบาดาล คุณภาพน้ําอยูในเกณฑดีรสจืด ปริมาณน้ําที่ไดนอยกวา 2  ลูกบาศกเมตรตอชั่วโมง






                                                                   สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62