Page 652 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 652

638




                  ตารางที่ 62.3 (ตอ) การแพรกระจายของกลุมชุดดินที่ 62 ในจังหวัดตางๆ

                           ภาค           เขตพัฒนาที่ดิน            จังหวัด                    เนื้อที่ (ไร)

                   ใต                        12                   สงขลา                   1,153,071.59

                                                                   สตูล                     590,130.05

                                               รวมทั้งสิ้น                                96,193,590.97


                  2. การจําแนกดิน


                         ชื่อชุดดิน(soil series)  และการจําแนกระดับวงศ(soil family) ในกลุมชุดดินที่ 62  ตามระบบ
                  อนุกรมวิธานดิน(soil taxonomy)


                         เนื่องจากกลุมดินนี้ประกอบดวยดินหลายชนิดเกิดขึ้นปะปนกัน ยังไมสามารถแยกออกเปนดินแตละชุดได

                  เพราะมาตราสวนของแผนที่ดินที่ใชยังไมอํานวย จึงรวมไวเปนหนวยแผนที่เดียวกันเรียกวา “ดินที่ลาดชันเชิง

                  เขา” ดังนั้นการจําแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดินจึงยังไมไดดําเนินการ

                  3. ลักษณะของกลุมชุดดินและของชุดดินในกลุมชุดดินที่ 62

                         ลักษณะและคุณสมบัติตางๆ ของดิน เชน เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน ปฏิกิริยาของดิน ตลอดจน

                  ความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติไมแนนอนขึ้นอยูกับหินที่เปนวัตถุตนกําเนิดดินบริเวณนั้นๆ แตสวนใหญ

                  มักมีเศษหิน กอนหินและหินพื้นโผลกระจัดกระจายที่ผิวดิน

                  4. การประเมินความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชตางๆ


                         กลุมชุดดินที่ 62 มีศักยภาพไมเหมาะสมในการปลูกพืช เนื่องจากเปนดินตื้น มีหินโผลที่ผิวดินเปน

                  สวนใหญ และพื้นที่เปนภูเขาสูงชัน  มีความลาดเทเฉลี่ยเกิน 35  เปอรเซ็นต  การชะลางพังทลายของดิน
                  เกิดขึ้นอยางรุนแรง จึงควรรักษาไวเปนปาไมธรรมชาติและพื้นที่ตนน้ําลําธาร เพื่อรักษาสภาพแวดลอมที่ดี


                  5. ปญหาและขอจํากัดในการเพาะปลูก

                         ปญหาที่สําคัญ คือ มีการชะลางพังทลายของดินรุนแรง และดินตื้นมีหินโผลที่ผิวดิน

                  6. การจัดการดินและที่ดิน


                            6.1 ปองกันการบุกรุกทําลายปา  โดยใชมาตรการดานกฎหมายอยางจริงจัง สวนของปาที่มีการบุกรุก
                  ทําลายแลว ควรเรงรัดการปลูกปาทดแทน และบํารุงรักษาปาธรรมชาติที่มีอยูใหสมบูรณยิ่งขึ้น


                          6.2 การอนุรักษดินและน้ํา  บริเวณที่ลาดชันและงายตอการชะลางพังทลาย ควรนํามาตรการ

                  อนุรักษดินและน้ําที่เหมาะสมมาใช ทั้งมาตรการทางพืช(การเกษตร) และทางวิศวกรรม  เชนเดียวกับกลุม

                  ดินที่ 61 ที่ไดอธิบายโดยละเอียดแลว
   647   648   649   650   651   652   653   654   655   656   657