Page 3 - การใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินผลผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้ง ปี 2548
P. 3

บทนํา


                      ถั่วเหลืองเปนพืชเศรษฐกิจที่สําคัญหนึ่งใน 12 พืชเศรษฐกิจเปาหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ

               เพราะเปนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมภายในประเทศหลายชนิด เชน ผลิตภัณฑอาหาร อาหารสัตว สีทาบาน พลาสติก

               และกาว เปนตน ในปการผลิต 2547 พบวาประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองฤดูแลง 459,027 ไร และมีผลผลิต
               รวม 112,121.15 ตัน ( กรมพัฒนาที่ดิน, 2547 )  แตจากการที่ไทยตองปฏิบัติตามขอตกลงขององคกรการคาโลก

               (WTO)  ดวยการเปดตลาดใหนําเขาสินคาเกษตรที่เคยเปนสินคาควบคุมการนําเขา 23 ชนิด รวมทั้งถั่วเหลือง

               กากถั่วเหลืองและน้ํามันถั่วเหลือง สงผลใหราคาถั่วเหลืองภายในประเทศต่ําลง เนื่องจากราคาถั่วเหลืองนําเขา

               มีราคาถูกกวาถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศ  ขณะที่ในปการผลิต  2548 ประเทศไทยประสบปญหาภัยแลง

               คณะอนุกรรมการวางแผนและสงเสริมการปลูกพืชฤดูแลง จึงมีมติใหลดการผลิตพืชที่ใชปริมาณน้ํามาก คือ
               ขาวนาปรังลง  โดยใหเกษตรกรปลูกพืชที่ใชน้ําในการผลิตนอยทดแทน  เชน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ประกอบกับ

               เมื่อปการผลิต  2547 ราคาของถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้น จึงเปนแรงจูงใจใหเกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองเพิ่มมากขึ้น

               ดังนั้นเพื่อไมใหปริมาณของถั่วเหลืองในประเทศเพิ่มมากจนเกินความตองการของตลาดจนเปนเหตุใหราคาของ

               ถั่วเหลืองในประเทศตกต่ํา จึงควรมีการวางแผนเพื่อกําหนดปริมาณถั่วเหลืองที่จะใหนําเขา โดยพิจารณาจาก
               ผลผลิตถั่วเหลืองที่ผลิตไดในประเทศ

                      การใชเทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร   เพื่อประเมินพื้นที่ปลูกและผลผลิต

               ถั่วเหลืองฤดูแลง  ถือเปนเครื่องมือที่สําคัญที่สามารถใชเปนฐานขอมูลในการกําหนด  ยุทธศาสตรการเพิ่ม

               ประสิทธิภาพการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิต ตลอดจนการวางแผนการตลาด  และการแกไขปญหาดาน
               ราคาและการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรม

                      กรมพัฒนาที่ดิน  ใครขอขอบคุณ  กรมวิชาการเกษตร  กรมสงเสริมการเกษตร  และสํานักงานเศรษฐกิจ

               การเกษตร  ที่ไดอนุเคราะหขอมูลบางสวน ทําใหการดําเนินงานสําเร็จลงดวยดี  และยินดีรับฟงขอเสนอแนะเพื่อ

               ปรับปรุงแกไขใหการดําเนินงานตอไปสมบูรณยิ่งขึ้น






                                                                               นายอรรถ   สมราง

                                                                                อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน
   1   2   3   4   5   6   7   8