Page 41 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 41

2-21








                       2.5 สภาพการผลิตและการใชประโยชน
                              เงาะเปนผลไมเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ในบรรดาผลไมที่คุนเคยกับคนไทยเปนอยางดี อีกทั้ง

                       รสชาติก็จัดอยูในระดับที่นับวายอดเยี่ยม แมวาจะรับประทานในปริมาณคอนขางมาก ก็ไมมีผล

                       ทําใหเกิดอาการผิดปกติในรางกาย นอกจากนี้ในปหนึ่ง ๆ ยังสามารถทํารายไดใหแกเกษตรกร
                       ชาวสวนเงาะในจังหวัด ภาคตะวันออก และภาคใต รวมทั้งผูเกี่ยวของกับผลไมชนิดนี้เปนจํานวน

                       มหาศาล ผลจากการประมาณการผลผลิตเงาะป 2547 คาดวาเนื้อที่ใหผลรวมทั้งประเทศ 500,157 ไร

                       ผลผลิตจะไดประมาณ 584,370 ตัน ผลผลิตตอไร 1,168 กิโลกรัม ซึ่งโดยภาพรวมผลผลิตเงาะป 2547
                       จะลดลง เนื่องจากผลผลิตตอไรลดลง ภาครัฐจึงดําเนินการแกไขปญหา เงาะโดยกรมการคาภายใน

                       อนุมัติวงเงินเพื่อดําเนินการกระจายผลผลิตออกนอกแหลงผลิต และสงเสริมการสงออก


                        2.5.1  แหลงผลิตที่สําคัญ

                                ภาคตะวันออก (เนื้อที่ปลูกรอยละ 55  ผลผลิตรอยละ 63)  แหลงปลูกสําคัญของภาคไดแก
                       จังหวัดจันทบุรี (ผลผลิตรอยละ 45) ตราด (ผลผลิตรอยละ 14) และจังหวัดระยอง  เก็บเกี่ยวระหวาง

                       เดือนเมษายน-มิถุนายน

                                ภาคใต (เนื้อที่ปลูกรอยละ 44 ผลผลิตรอยละ 36) แหลงปลูกสําคัญของภาคไดแก จังหวัด

                       ชุมพร (ผลผลิตรอยละ 10)  สุราษฎรธานี (ผลผลิตรอยละ 10) นครศรีธรรมราช (ผลผลิตรอยละ 8)

                       ระนอง และพังงา  ชวงเวลาเก็บเกี่ยวอยูระหวางเดือนกรกฎาคม-กันยายน
                                ขอมูลของสวนวิจัยพืชสวน สํานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร (2548) รายงานวาเนื้อที่ปลูก

                       เงาะในป 2537 เทากับ 356,876 ไร เปนเนื้อที่ใหผลแลวประมาณรอยละ 79 คือ 280,343 ไร  ปริมาณ

                       ผลผลิตรวม 465,642 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยตอไร 1,661 กิโลกรัม ขณะที่ป 2547 มีเนื้อที่ปลูก 588,627 ไร
                       เปนเนื้อที่ใหผลแลวประมาณรอยละ 84 คือ 496,798 ไร  ปริมาณผลผลิตรวม 581,565 ตัน ผลผลิต

                       เฉลี่ยตอไร 1,171 กิโลกรัม จากขอมูลขางตนพบวาเนื้อที่ปลูกรวมเพิ่มขึ้นรอยละ 5.65 ตอป สวนเนื้อที่

                       ใหผลเพิ่มมากกวาเนื้อที่ปลูกรวมคือเพิ่มขึ้นรอยละ 6.26 ตอป สงผลใหปริมาณผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น

                       ในระหวางป 2537-2547 คิดเปนรอยละ 3.34 ตอป แตผลผลิตเฉลี่ยตอไรกลับมีแนวโนมลดลงรอยละ
                       3.12 ตอป ซึ่งแสดงวาประสิทธิภาพในการผลิตเงาะมีแนวโนมลดลง (ตารางที่ 2-4)

                                เมื่อจําแนกพื้นที่เพาะปลูกเงาะในจังหวัดที่เปนแหลงผลิตสําคัญระหวางป 2543-2546

                       จากขอมูลของศูนยสารสนเทศ กรมสงเสริมการเกษตรพบวา ในป 2543 ภาคใตมีเนื้อที่ปลูกเงาะรวม
                       298,203 ไร เปนเนื้อที่ใหผลประมาณรอยละ 72 คือ 213,750 ไร ปริมาณผลผลิตรวม 253,063 ตัน

                       ผลผลิตเฉลี่ย 1,184 กิโลกรัมตอไร จังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดในภาคใตคือจังหวัด

                       นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานีและจังหวัดชุมพร  จังหวัดที่มีผลผลิตเฉลี่ยตอไรอยูในระดับสูง

                       คือ จังหวัดสตูลและภูเก็ต 2,031 และ  1,606  กิโลกรัมตอไร  ตามลําดับ สวนในป 2546 เนื้อที่ปลูกเงาะ



                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ                           สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46