Page 52 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจลิ้นจี่
P. 52

บทที่ 3

                                                    การประเมินคุณภาพที่ดิน



                                การประเมินคุณภาพที่ดินเปนการพิจารณาศักยภาพของหนวยทรัพยากรที่ดินตอการใช

                       ประโยชนที่ดินประเภทตางๆ ในระดับการจัดการที่แตกตางกัน

                                การประเมินคุณภาพที่ดินในหลักการของ FAO Framework สามารถทําได 2 รูปแบบ
                                   รูปแบบแรก การประเมินทางดานคุณภาพหรือเรียกอีกอยางหนึ่งวาเปนการประเมิน

                       เชิงกายภาพเทานั้น วาที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือนอยเพียงใดตอการใชประโยชนที่ดินประเภท

                       ตางๆ

                                   รูปแบบที่สอง การประเมินทางดานปริมาณหรือดานเศรษฐกิจ ซึ่งจะใหคาตอบแทน
                       ในรูปผลผลิตที่ไดรับ ตัวเงินในการลงทุน และตัวเงินจากผลตอบแทนที่ไดรับ



                       3.1   ระดับความตองการปจจัยสําหรับลิ้นจี่


                                ศึกษารวบรวมขอมูลของลิ้นจี่ ที่ปลูกในพื้นที่ตางๆ เกี่ยวกับพันธุที่ปลูก สภาพแวดลอมที่

                       เหมาะสม และปจจัยที่ตองการเพื่อการเจริญเติบโต รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับความเปนไปไดของการ

                       สงเสริมการปลูกลิ้นจี่ เพื่อการแขงขันทางการคา พบวา ลิ้นจี่ที่นิยมปลูกเปนการคา จะมี 3 พันธุคือ

                       พันธุฮงฮวย จะปลูกมากที่สุดทางภาคเหนือตอนบน พันธุจักรพรรดิ์ จะปลูกมากที่ภาคเหนือ
                       โดยเฉพาะอําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม และพันธุคอม จะปลูกมากทางภาคกลางที่จังหวัด

                       สมุทรสงคราม ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับพันธุลิ้นจี่ สภาพแวดลอมที่เหมาะสม รวมทั้งปจจัยที่ตองการ

                       เพื่อการเจริญเติบโต และการปฏิบัติ ดูแลรักษา ไดกลาวไวในภาคผนวกที่ 2 แลวทําการศึกษาถึงระดับ
                       ความตองการปจจัยตอการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ และขอเดนขอดอยของลิ้นจี่แตละพันธุ โดยให

                       สอดคลองกับคุณภาพของที่ดินที่ไดกําหนดไว


                                สําหรับระดับ ความตองการปจจัยและสิ่งแวดลอมที่แตกตางกัน สามารถแบงไดเปน 3
                       กลุมตามความตองการ คือ ความตองการดานพืช ความตองการดานการจัดการ และความตองการ

                       ดานอนุรักษ โดยใชหลักการของ FAO  Framework  ซึ่งไดจําแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดิน

                       เปน 2 อันดับ (Order) คือ

                                1)  อันดับที่เหมาะสม  (Order S : Suitability)


                                2)  อันดับที่ไมเหมาะสม (Order N : Not suitability)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57