Page 4 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 4

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                 ข


                                                    บทคัดย่อ



                       การศึกษาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของ
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินสถานภาพน้ำ  ความหลากหลายทาง

               ชีวภาพ เทคโนโลยีและภูมิปัญญาด้านการจัดการดิน น้ำ พืช  สภาพเศรษฐกิจและสังคม ดำเนิน
               การศึกษาในพื้นที่เกษตรกรตัวแทนในกลุ่มเนื้อดินดินร่วนละเอียด (ขอนแก่น) ดินเหนียวหรือดินทราย

               แป้งละเอียด (ชัยภูมิ) และดินร่วนหยาบ (มุกดาหาร) ที่มีการจัดการตามแบบโคก หนอง นา และ

               ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมปลูกข้าวเป็นเกษตรผสมผสาน  ผลการศึกษาพบว่า แปลงเกษตรกรส่วน
               ใหญ่อยู่ในพื้นที่ดอนและที่ราบลุ่มในบางราย ดินส่วนใหญ่มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ ความอุดมสมบูรณ์

               ดินต่ำ  หลังการจัดการพื้นที่ทำให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น (3,182.4 – 22,550 ลูกบาศก์เมตร)
               ซึ่งแหล่งกักเก็บน้ำมีความหลากหลายและแตกต่างกันตามรูปแบบ จำนวน และขนาด และพบ

               การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำและความชื้นในดินตลอดช่วงศึกษา (มกราคม-มิถุนายน) มีปริมาณน้ำ

               เพิ่มขึ้นและลดลงทำให้มีน้ำเหลือในพื้นที่มากกว่า 50% ที่เพียงพอต่อกิจกรรมการเกษตร ซึ่งปริมาณ
               น้ำขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดการพื้นที่ สภาพพื้นที่ สมบัติดิน ปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะบริหารจัดการ

               ดินและน้ำของเกษตรกร   นอกจากนี้ การจัดการพื้นที่ส่งต่อการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ

               ของดินโดยมีปริมาณและความหลากหลายของชนิดมวลชีวภาพพืช (0.7-586.4 ตันต่อไร่) มวลชีวภาพ
               คาร์บอน (5 – 5,278 ตันคาร์บอนต่อไร่) คืนสู่ดินเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนโคกและคันนา และยังพบปริมาณ

               และลักษณะของเศษซากพืช (0.28 – 5.85 ตันต่อไร่) ที่สะท้อนกิจกรรมของสัตว์ขนาดเล็กและ
               จุลินทรีย์ดิน  นอกจากนี้ มีชนิดและปริมาณสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กบริเวณดินบน (41-648 ตัวต่อตาราง

               เมตร) ซึ่งมีความหลากหลายทั้งส่วนโคก คันนา และแปลงนาข้าว  และพบการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่

               อยู่ในช่วง 11.1-3,1003.3 ตันคาร์บอนต่อไร่  หลังมีการจัดการพื้นที่ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและ
               ภูมิปัญญาโดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อกิจกรรมการเกษตรซึ่งทำให้

               ได้ผลผลิตที่สามารถบริโภคในครัวเรือนและขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร (3,509.3-311,515
               บาทต่อปี)  ทั้งนี้ เกษตรกรเครือข่ายชี้ว่า ควรมีการบริหารการจัดการพื้นที่ตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้

               เกิดความสมดุลในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันจากสภาวะภัยแล้งอย่างยั่งยืน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9