Page 13 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                   11







       9. ผลที่ได้เป็นอย่างไร ผลผลิต รายได้เป็นอย่างไร

                  จากวิธีการจัดการดินและวิธีปฏิบัติดังกล่าว ท าให้รักษาความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิต โดยมี

       ผลผลิตขมิ้นชันเฉลี่ยอยู่ที่ 200 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 25-30 บาท/กิโลกรัม โดยใช้ต้นทุนการผลิต 12,000 บาท/ไร่ และ

       ถ้าไม่แรงงานต้นทุนลดลงอยู่ที่ 6,000-7,000 บาท/ไร่  รายได้สุทธิอยู่ที่ 25,000 – 30,000 บาท/ไร่ และผลผลิตไพล
       เฉลี่ยอยู่ที่ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 60-70บาท/กิโลกรัม และกลุ่มวิสาหกิจฯยังตั้งเป็นธนาคารพันธุ์สมุนไพร

       ช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มที่ประสบปัญหาผลผลิตเสียหายในปีที่เพาะปลูกที่กระทบแล้งซึ่ง ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา
       (ปี พ.ศ.2565-2566) ผลผลิตเสียหาย ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้เลย นอกจากการขายสมุนไพรแบบสดแล้ว ยังขายแบบ

       ท าแห้งสไลด์ แปรรูปแบบผง และขายแบบต้มตาก(ผลผลิตที่เกิดโรคเน่า)  โดยมีแหล่งรับซื้อที่ได้แก่ โรงพยาบาล
       วัด บริษัท ร้านขายยาและกลุ่มวิสาหกิจต่างๆ น าไปแปรรูป


       10. กลยุทธ์ในการท าการเกษตรที่ท าให้ประสบความส าเร็จ


                  1) มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความขยัน อดทน มุ่งมั่น พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา ปรับตัวและตั้งรับต่อ
       สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการผลิตพืชสมุนไพร โดยน าองค์ความรู้ เทคโนโลยี ที่หน่วยงานราชการให้การสนับสนุนของมา

       ปรับใช้ในพื้นที่ตนเอง

                  2) การท าการเกษตรแบบปลอดภัย พึ่งพาตนเอง ไม่พึ่งพาสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รักษาระบบ

       นิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ดี ช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกและสังคมส่วนรวม

                 3) การขยายผลมีเป้าหมายชัดเจน โดยการน าเอาองค์ความรู้ ด้านการพัฒนาที่ดิน การแปรรูป การบรรจุ

       ภัณฑ์ และกลไกตลาด ขยายผลไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ของตนเอง และเกษตรกรพื้นที่อื่นที่มาศึกษาดูงาน


       11. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จมีอะไรบ้าง

                 1) เข้าใจธรรมชาติโดยเฉพาะช่วงกระทบแล้ง โดยการลดพื้นที่ปลูก เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงของผลผลิต


                 2) ความพร้อมด้านองค์ความรู้ ดังนี้ การปรับปรุงบ ารุงดินก่อนการเพาะปลูก เช่น  การบ่มดิน การจัดการ
       ธาตุอาหารพืช และโรคพืช การรักษาระบบนิเวศน์ รวมถึงการวิเคราะห์ความต้องของตลาดในช่วงนั้นๆ


                 3) มีการบูรณาการกับสมาชิกในกลุ่ม และเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ
       ที่เข้ามาช่วยเหลือและมาใช้สถานที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง และสม่ าเสมอ



                 4) การน าเทคโนโลยีมาปรับใช้ ทั้งด้านการจัดการดิน การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18