Page 11 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      9




                           การถอดบทเรียนสมุนไพร ขมิ้นชัน และไพล


                        ต าบลด่านทับตะโก อ าเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี





         1. ชื่อผู้เล่า : นางสาวโสภี  บัวผัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก

         2. ชื่อเรื่อง : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก

         3. เป็นการด าเนินการเกี่ยวกับ : การปลูกและการเพิ่มมูลค่าการแปรรูปสมุนไพร


         4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ : กลุ่มปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก ปี 2543

         5. สถานที่ : หมู่ 13 ต. ด่านทับตะโก อ.จอมบึง จังหวัดราชบุรี

         6. วันที่จดบันทึกเรื่องเล่า : 19 มีนาคม 2567



         7. ความเป็นมาของเหตุการณ์นั้น มีความเป็นมาอย่างไร มีแรงบันดาลใจอะไรในการด าเนินการเรื่องนี้

                       อดีตท าอาชีพรับจ้างเก็บของป่า บริเวณเขาหนาม และพืชสมุนไพรตั้งแต่รุ่นปู่ย่า  และรักในการท า

         เกษตร และรักษ์ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ในป่าที่เข้าไปขุดหาสมุนไพร ท าให้สุขภาพแข็งแรงไม่มีปัญหาสุขภาพ จนได้
         รวมกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรตั้งแต่  ปีพ.ศ. 2540 และเป็นกลุ่ม OTOP ในปี พ.ศ.2542 หลังจากนั้นในปี

         พ.ศ.2543 ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก มีสมาชิกกลุ่ม 50 ครัวเรือน  โดยใน

         ปี พ.ศ.2559 ส านักงานเกษตรอ าเภอจอมบึง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนให้เป็นเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การ
         เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (สมุนไพร) บ้านท่าอีปะ หมู่ 13

         ต.ด่านทับตะโก  อ.จอมบึง จ.ราชบุรี และสถานีพัฒนาที่ดินราชบุรี ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 เข้ามาถ่ายทอด
         องค์ความรู้ในการปรับปรุงคุณภาพดิน และลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ กิจกรรม การผลิตปุ๋ยหมัก และน้ าหมักชีวภาพ

         การปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (โดโลไมท์) รวมทั้งการบริการวิเคราะห์ดินและให้ค าแนะน าการจัดการดิน  ด้วยความ
         มุ่งมั่นตั้งใจในการท าการเกษตรแม้ว่าจะไม่มีพื้นที่ท ากินเป็นของตนเองในอดีต  ต้องเช่าที่ดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร

         พื้นที่ประมาณ  2 ไร่ 1 งาน ด้วยความไม่ย่อท้อและมุ่งมั่น ในการท าอาชีพปลูกพืชสมุนไพร  แบ่งเป็นพืชประเภท

         พืชหัวกว่า 20 ชนิดและพืชล้มลุกกว่า 70 ชนิด จนปัจจุบันสามารถซื้อที่ดินเป็นของตัวเอง และยังรับซื้อพืชสมุนไพร
         จากเครือข่ายเกษตรกรพื้นที่อื่นในการน าสมุนไพรมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ได้แก่  น้ ามันนวด

         คลายเส้น ยาหม่องจากไพล ไพลบดผง ขมิ้นชันบดผงและและสมุนไพรลูกประคบ โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัย
         เกษตรศาสตร์วิทยาเขตก าแพงแสน  ได้สนับสนุนเครื่องกลั่นน้ ามันระเหย   กลั่นไพล  ผิวมะกรูด  ตะไคร้

         รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16