Page 32 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23








                                      (6) ไม้ผลอื่น ๆ มีเนื้อที่รวม 9,011 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ปลูก
                       กระจายอยู่ทั่วจังหวัด ได้แก่ พื้นที่ไม้ผลร้าง/เสื่อมโทรม 745 ไร่ ไม้ผลผสม 3,914 ไร่ ส้ม 455 ไร่
                       ทุเรียน 418 ไร่ เงาะ 32 ไร่ มะพร้าว 1,147 ไร่ ลิ้นจี่ 114 ไร่ มะม่วงหิมพานต์ 22 ไร่ พุทรา 115 ไร่
                       น้อยหน่า 259 ไร่ ฝรั่ง 274 ไร่ มะละกอ 113 ไร่ ขนุน 228 ไร่ ชมพู่ 12 ไร่ มะนาว 211 ไร่ ไม้ผล

                       เมืองหนาว 14 ไร่ มะขามเทศ 240 ไร่ แก้วมังกร 474 ไร่ ละมุด 37 ไร่ มะปราง มะยงชิด 95 ไร่ และ
                       มะไฟ ละไม 92 ไร่
                                  5) พืชสวน (A5) มีเนื้อที่ 2,389 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นพื้นที่ปลูก
                       พืชสวนผสม 33 ไร่ พืชผัก 1,983 ไร่ ไม้ดอก ไม้ประดับ 105 ไร่ พริกไทย 21 ไร่ เสาวรส 16 ไร่

                       พืชสมุนไพร 108 ไร่ หน่อไม้ฝรั่ง 79 ไร่ และเห็ด 33 ไร่
                                  6) ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ (A7) มีเนื้อที่ 14,740 ไร่ หรือร้อยละ 0.19 ของเนื้อที่
                       จังหวัด ประกอบด้วยพื้นที่โรงเรือนร้าง 372 ไร่ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 2,091 ไร่ โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ
                       และม้า 6,231 ไร่ โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก 4,103 ไร่ และโรงเรือนเลี้ยงสุกร 1,943 ไร่

                                  7) พืชน้ํา (A8) มีเนื้อที่ 115 ไร่ ประกอบด้วย กก 36 ไร่ และบัว 79 ไร่
                                  8) สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา (A9) มีเนื้อที่ 9,501 ไร่ หรือร้อยละ 0.12 ของเนื้อที่
                       จังหวัด ประกอบด้วยสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําร้าง 637 ไร่ และสถานที่เพาะเลี้ยงปลา 8,864 ไร่

                                  9) เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม (A0) มีเนื้อที่ 1,333 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่
                       จังหวัด เป็นการทําเกษตรผสมผสานหรือไร่นาสวนผสม
                            2.2.3 พื้นที่ป่าไม้ (F) โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 2,698,039 ไร่ หรือร้อยละ 33.78 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ประกอบด้วย
                                  1) ป่าไม่ผลัดใบ (F1) มีเนื้อที่รวม 949,616 ไร่ หรือร้อยละ 11.89 ของเนื้อที่จังหวัด

                       ได้แก่ ป่าไม่ผลัดใบสมบูรณ์ 942,947 ไร่ หรือร้อยละ 11.81 ของเนื้อที่จังหวัด และป่าไม่ผลัดใบ
                       รอสภาพฟื้นฟู 6,669 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณทางด้าน
                       ทิศตะวันตกของจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง อุทยานแห่งชาติน้ําหนาว

                       เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
                       ผาผึ้ง
                                  2) ป่าผลัดใบ (F2) มีเนื้อที่รวม 1,733,079 ไร่ หรือร้อยละ 21.70 ของเนื้อที่จังหวัด
                       ได้แก่ ป่าผลัดใบสมบูรณ์ 1,451,960 ไร่ หรือร้อยละ 18.18 ของเนื้อที่จังหวัด และป่าผลัดใบรอสภาพ

                       ฟื้นฟู 281,119 ไร่ หรือร้อยละ 3.52 ของเนื้อที่จังหวัด โดยจะกระจายตัวทั่วจังหวัด และมีพื้นที่
                       บางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน อุทยานแห่งชาติน้ําพอง อุทยานแห่งชาติน้ําหนาว อุทยาน
                       แห่งชาติไทรทอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ และเขตรักษา
                       พันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง

                                  3) ป่าปลูก (F5) มีเนื้อที่ 15,344 ไร่ หรือร้อยละ 0.19 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ ป่าปลูก
                       สมบูรณ์ 9,471 ไร่ หรือร้อยละ 0.12 ของเนื้อที่จังหวัด และป่าปลูกรอสภาพฟื้นฟู 5,873 ไร่ หรือ
                       ร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด โดยกระจายตัวทั่วจังหวัด และมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่อุทยาน
                       แห่งชาติไทรทอง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37