Page 30 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2565
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21








                       ที่ผลิตสินค้า เพื่อสนองความต้องการของตลาดภายในท้องถิ่น รวมทั้งลานตากและแหล่งรับซื้อ
                       ทางการเกษตร 8,118 ไร่
                                  6) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ (U6) มีเนื้อที่ 6,481 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของ
                       เนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย สถานที่ร้าง 233 ไร่ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 1,614 ไร่ ได้แก่

                       สวนสาธารณะ สนามกีฬา และสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งมีกระจายอยู่ตามอําเภอต่าง ๆ รีสอร์ท โรงแรม
                       เกสต์เฮ้าส์ 2,503 ไร่สุสานและป่าช้า 1,647 ไร่ และสถานีบริการน้ํามัน 485 ไร่
                                  7) สนามกอล์ฟ (U7) มีเนื้อที่ 307 ไร่
                            2.2.2 พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ทั้งหมด 4,454,155 ไร่ หรือร้อยละ 55.78 ของเนื้อที่จังหวัด

                       ประกอบด้วย
                                  1) นาข้าว (A1) มีเนื้อที่ 1,617,294 ไร่ หรือร้อยละ 20.25 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย
                       นาร้าง 12,341 ไร่ และนาข้าว 1,562,340 ไร่ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก ได้แก่ กข6 ขาวดอกมะลิ 105 กข15
                       และกข10 โดยส่วนมากปลูกข้าวเจ้าเพื่อการจําหน่าย ส่วนข้าวเหนียวนิยมปลูกน้อยเพราะใช้ใน

                       การบริโภคเท่านั้น นอกจากนี้มีการปลูกพืชฤดูแล้งตามหลังทํานา ได้แก่ ข้าวโพดมันสําปะหลัง ยาสูบ
                       ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มันแกว แตงโม พริก เผือก พืชผัก และไม้ดอก ไม้ประดับ มีเนื้อที่ 32,287 ไร่ หรือ
                       ร้อยละ 0.41 ของเนื้อที่จังหวัด นอกจากนี้ยังพบว่ามีการทํานาในพื้นที่ลุ่ม 10,326 ไร่ หรือร้อยละ

                       0.13 ของเนื้อที่จังหวัด
                                  2) พืชไร่ (A2) มีเนื้อที่ 2,458,638 ไร่ หรือร้อยละ 30.79 ของเนื้อที่จังหวัด พืชไร่
                       ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดชัยภูมิ คือ ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง และสับปะรด
                                      (1) อ้อย (A203) มีเนื้อที่ 1,254,436 ไร่ หรือร้อยละ 15.71 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอภูเขียว อําเภอเกษตรสมบูรณ์

                       และอําเภอหนองบัวแดง ซึ่งพื้นที่ปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโรงงานน้ําตาลรองรับผลผลิต
                       2 โรงงานใหญ่ คือ โรงงานน้ําตาลมิตรผล ตั้งอยู่ที่อําเภอภูเขียว โรงงานน้ําตาลระยอง ตั้งอยู่ที่อําเภอ
                       บําเหน็จณรงค์

                                      (2) มันสําปะหลัง (A204) มีเนื้อที่ 1,132,326 ไร่ หรือร้อยละ 14.18 ของเนื้อที่
                       จังหวัด พบพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอเทพสถิต อําเภอหนองบัว
                       ระเหว และอําเภอบําเหน็จณรงค์
                                      (3) ไร่ร้าง (A201) มีเนื้อที่ 39,171 ไร่ หรือร้อยละ 0.49 ของเนื้อที่จังหวัด

                                      (4) สับปะรด (A205) มีเนื้อที่ 18,883 ไร่ หรือร้อยละ 0.24 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบพื้นที่ปลูกมากในอําเภอเมืองชัยภูมิ และอําเภอแก้งคร้อ
                                      (5) ข้าวโพด (A202) มีเนื้อที่ 12,827 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่จังหวัด
                       พบพื้นที่ปลูกกระจายทั่วจังหวัด พื้นที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ อําเภอจัตุรัส อําเภอคอนสาร และอําเภอ

                       บําเหน็จณรงค์
                                      (6) พืชไร่อื่น ๆ มีเนื้อที่รวม 995 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ พืชไร่
                       ผสม 502 ไร่ พืชไร่ผสมตามด้วยพืชผัก 28 ไร่ ข้าวโพดตามด้วยพืชผัก 38 ไร่ ยาสูบ 34 ไร่ ปอแก้ว
                       ปอกระเจา 41 ไร่ มันแกว 16 ไร่ แตงโม 35 ไร่ กะหล่ําปลี 47 ไร่ พริก 241 ไร่ และเผือก 13 ไร่
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35