Page 28 - รายงานการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดและคลาวด์คอมพิวติงเพื่องานพัฒนาที่ดิน Utilization of Remote Sensing Database derived from Open-source software and Cloud computing platform for Land Development
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           20







                               ดาวเทียมส ารวจทรัพยากรธรรมชาติในระบบ passive sensor system ที่นิยมใช้ในการศึกษา
                       ปรากฎการณ์ต่างๆ ได้แก่
                                          2.1.1) ชุดดาวเทียม Landsat
                                                ชุดดาวเทียม Landsat เป็นชุดดาวเทียมที่พัฒนาและให้บริการมาอย่างยาวนาน

                       ท าให้สามารถใช้ศึกษาปรากฎการณ์ต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ข้อมูลภาพที่ได้จากดาวเทียม
                       Landsat มีความละเอียดเชิงพื้นที่ 30 เมตร และขอบเขตเชิงพื้นที่ 185 ตารางกิโลเมตร ต่อภาพ (Cohen
                       and Goward 2004; Masek et al. 2006) และได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ส าหรับการวิเคราะห์สิ่งปกคลุม
                       ดิน (Wulder et al. 2008; Linke et al. 2009) และระบบนิเวศวิทยา (Healey et al. 2005; Mas) อย่างไร

                       ก็ตามความละเอียดเชิงเวลาค่อนขั้นต่ าคือใช้เวลา 16 วันจึงกลับมาถ่ายภาพที่เดิมอีกครั้ง ท าให้ยากที่จะ
                       บันทึกภาพภาพเหตุการณ์ในบางเวลาที่ต้องการ (Gao et al. 2006 ; Leckie 1990; Pape และ
                       Franklin 2008) ส าหรับการจ าแนกการใช้ที่ดินในประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดย
                       มนุษย์เป็นผู้ก าหนดลักษณะการใช้ที่ดินว่าจะเป็นไปในลักษณะใด เช่น การท าเกษตรกรรม การ

                       ก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือการสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
                       ส ารวจทรัพยากรธรรมชาติ ถูกน ามาใช้โดยกรมพัฒนาที่ดินในการศึกษา และการวิเคราะห์การ
                       เปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน ตลอดจนการจัดท าแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภท

                       มาอย่างยาวนาน การน าข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพที่ดินสามารถท าได้สองวิธี คือ
                       การแปลด้วยสายตา และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ชุดดาวเทียม LANDSAT ได้เริ่มต้นขึ้นและให้บริการ
                       ข้อมูลภาพมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2515 ดาวเทียมดวงแรกในชุดคือ ERTS-1 (Earth Resources
                       Technology Satellite) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น LANDSAT 1 และมีการส่งดาวเทียมขึ้นทดแทนใน
                       ช่วงเวลาต่อมาได้แก่ LANDSAT 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการ ERTS นี้ ตั้งแต่

                       แรกเริ่มใน พ.ศ. 2514 และมีการจัดตั้งสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินจากดาวเทียมที่เขตลาดกระบังใน
                       พ.ศ. 2524 ซึ่งนับเป็นสถานีรับสัญญาณฯ แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่ LANDSAT 5
                       ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากข้อมูลภาพเป็นอย่างมาก โดย LANDSAT 5

                       ได้รับการออกแบบให้สามารถท างานในวงโคจรได้อย่างน้อย 3 ปี ได้ให้บริการภาพถ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อ
                       มนุษยชาติอย่างต่อเนื่องยาวนานจนได้รับการบันทึกจาก Guinness ว่าเป็นดาวเทียมที่โคจรปฏิบัติภารกิจ
                       ยาวนานที่สุดถึง 29 ปี โคจรรอบโลกมากกว่า 150,000 รอบ และส่งข้อมูลภาพพื้นทั่วโลกกลับลงมาให้เราได้ใช้
                       ประโยชน์กันมากกว่า 2.5 ล้านภาพ ในช่วงที่ผ่านมาดาวเทียม LANDSAT 5 เกิดข้อขัดข้องในการท างาน

                       โดยเฉพาะช่วงท้ายของภารกิจ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังสามารถแก้ไขให้ดาวเทียมกลับมาใช้งานดังเดิมได้เสมอ
                       จนกระทั่งอุปกรณ์ถ่ายภาพหลักของดาวเทียมมีปัญหาและถูกหยุดการใช้งานลงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
                       2554 ในที่สุดดาวเทียมต้องหยุดการท างานอย่างสิ้นเชิงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 (สมพงษ์, 2560)
                                     ดาวเทียม LANDSAT 5 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด McDonald Douglas Delta 3920

                       จากฐานทัพอากาศ Vandenberg, California เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยดาวเทียม LANDSAT 5
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33