Page 13 - รายงานการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดและคลาวด์คอมพิวติงเพื่องานพัฒนาที่ดิน Utilization of Remote Sensing Database derived from Open-source software and Cloud computing platform for Land Development
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                            5






























                       ภาพที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลระดับพื้นดินโดยใช้เซ็นต์เซอร์ติดกับพาหนะ
                       ที่มา : Piekutowska et. al. (2018)

                                        2) การจัดเก็บข้อมูลระดับอากาศ (Aerial based) การส ารวจระดับอากาศ ซึ่งใช้

                       กล้องชนิด multispectral หรือ hyperspectral และ เครื่อง GPS ติดกับเครื่องบินหรืออากาศยาน
                       ไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV)   เฮลิตอปเตอร์ บอลลูน และเครื่องบิน เป็นต้น
                       (Navalgund, 2001; Kulo, 2018) เพื่อการเก็บข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งสามารถใช้จัดท าเป็น
                       ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เช่น โครงการภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 ของ
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2545  (ภาพที่ 4) เป็นข้อมูลภาพที่ได้จากเซ็นต็นเซอร์ที่ติดกับ

                       เครื่องบิน ข้อมูลภาพที่ได้มีกระบวนการปรับแก้ความผิดเพี้ยนเนื่องจากเรขาคณิตของการถ่ายภาพ
                       และความสูงต่างของภูมิประเทศ (relief displacement) โดยมีระบบพิกัดอ้างอิง ผลลัพธ์ที่ได้คือ
                       ภาพถ่ายที่ปรากฏรายละเอียดลักษณะสิ่งปกคลุมภูมิประเทศ ณ เวลาที่ท าการถ่ายภาพไว้ทั้งหมด มี

                       มาตราส่วนและความถูกต้อง สามารถวัดพิกัด ทิศทาง ระยะทาง ขนาด และรูปร่างของวัตถุได้
                       เช่นเดียวกับแผนที่ลายเส้น หรือแผนที่ภูมิประเทศ มีระวางขนาด 50 x 50 ซ.ม. ครอบคลุมพื้นที่
                       ขนาด 2 x 2 ตารางกิโลเมตรต่อระวาง ระบบพิกัดกริด UTM พื้นหลักฐาน WGS84 ทั้งนี้แผนที่
                       ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 มีความละเอียดจุดภาพ (pixel)  3 ระดับ ได้แก่

                       ความละเอียดจุดภาพ 0.50 1 และ 10 เมตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2560) และภาพที่ได้จาก UAV หรือ
                       โดรน (drone) ที่ได้จากเซ็นต็นเซอร์ที่ติดกับ UAV (ภาพที่ 5 และภาพที่ 6) ข้อดีของภาพถ่ายทาง
                       อากาศ คือ ข้อมูลที่ได้มีความเป็นปัจจุบันสูง ความละเอียดจุดภาพสูง สามารถบินถ่ายภาพใน
                       ช่วงเวลาต่างๆได้ตามที่ต้องการ ได้ข้อมูลและสาระที่ถูกต้องครบถ้วน ประหยัดต้นทุนและเวลาเมื่อ

                       เปรียบเทียบกับในการเดินส ารวจในพื้นที่จริง (Chang and Clay, 2016) แต่ยังมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
                       ถ่ายภาพครอบคลุมได้น้อยกว่าและใช้เวลาการถ่ายภาพเก็บข้อมูลนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการ
                       จัดเก็บข้อมูลระดับอวกาศ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18