Page 66 - การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ Using of remote sensing for economic crops growth pattern study
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           55







                       พบว่า ค่า NDVI มีความสัมพันธ์กับผลผลิตมะเขือเทศสูง และสามารถท าแผนที่แสดงความแปรปรวนของผลผลิต
                       ในแปลงปลูกได้
                                   Caturegli et al. (2016) ใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (UAVs) ที่ติด multispectral
                       sensor ศึกษาระดับไนโตรเจน (N) ในหญ้าสนาม พบว่า ค่า NDVI มีความสัมพันธ์กับปริมาณ N ใน
                                     2
                       ต้นหญ้าสูงมาก (r  = 0.95) ซึ่งค่าสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถน ามาใช้ก าหนดค่าความต้องการ N ของหญ้า
                       แต่ละชนิดได้
                                   Guan et al. (2019) ประเมินความสัมพันธ์ภาพ NDVI รายละเอียดสูงกับอัตราปุ๋ยและ
                       ผลผลิตข้าวและข้าวสาลี โดยการบันทึกข้อมูลรีโมทเซ็นซึ่งได้ใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (UAVs) ที่

                       ติดกล้องชนิด multispectral sensor ผลการศึกษาพบว่า  ค่า NDVI สามารถแสดงค่าความแตกต่างการ
                       ได้รับปุ๋ยในอัตราที่ต่างกันของข้าวและข้าวสาลี และค่า NDVI มีความสัมพันธ์กับผลผลิตโดยมีค่า r  อยู่
                                                                                                         2
                       ระหว่าง 0.601–0.809

                               Santillan and Santillan (2018) ศึกษาการเปรียบเทียบและการวิเคราะห์การสะท้อนแสงเชิง
                       คลื่นของสาคูและปาล์มชนิดอื่นๆ  ได้แก่ มะพร้าว และปาล์มน  ามัน เพื่อใช้จ าแนกชนิดของพืชแต่ละชนิด
                       ชุดข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยค่าลายเซ็นต์เชิงคลื่นเฉลี่ยของปาล์มแต่ละชนิดที่วัดได้ภายในช่วง

                       ความยาวคลื่น 345 - 1045 นาโนเมตร โดยใช้สเปกโตรมิเตอร์ไฟเบอร์ออปติกขนาดเล็กของ Ocean
                       Optics USB4000-VIS-NIR ข้อมูลการสะท้อนแสงในแหล่งก าเนิดนี ยังได้รับการสุ่มตัวอย่างใหม่เพื่อให้ตรง
                       กับการตอบสนองกับช่วงคลี่นของดาวเทียม ALOS AVNIR-2  แถบช่วงคลื่ยที่ 4 ดาวเทียม ASTER VNIR
                       แถบช่วงคลื่ยที่ 3 ดาวเทียม Landsat 7 ETM+ แถบช่วงคลื่ยที่ 4 ดาวเทียม Landsat 8 แถบช่วงคลื่นที่ 5

                       และดาวเทียม Worldview-2 8 แบนด์ การตรวจสอบลายเซ็นต์เชิงคลื่นแสดงให้เห็นว่าบริเวณอินฟราเรด
                       ใกล้ โดยเฉพาะที่ 770, 800 และ 875 นาโนเมตร ให้ความยาวคลื่นที่ดีที่สุดที่สามารถแยกต้นสาคูออกจาก
                       ต้นปาล์มชนิดอื่นได้ การสุ่มตัวอย่างใหม่ของค่าการสะท้อนแสงในแหล่งก าเนิดเพื่อให้ตรงกับการตอบสนอง
                       ทางสเปกตรัมของเซ็นเซอร์ออปติคัลท าให้สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าการสะท้อนแสงของ สาคู

                       และปาล์มอื่นๆ ในแถบต่างๆ ของเซ็นเซอร์ได้ โดยรวมแล้วความรู้ที่ได้รับจากการวิเคราะห์จะมีประโยชน์ใน
                       การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเชิงคลื่น โดยเฉพาะในการพิจารณาว่าแถบใดที่จะรวมหรือไม่รวม หรือจะใช้
                       แถบทั งหมดของเซ็นเซอร์ในการแยกแยะและท าแผนที่ต้นสาคู
                               ขัตติยานี และคณะ (2561) ศึกษาค่าสะท้อนพลังงานของมันส าปะหลังจากข้อมูลดาวเทียม

                       LANDSAT-8 จ านวน 4 ช่วงคลื่น ได้แก่ ช่วงคลื่นสีน้าเงิน สีเขียว สีแดง และอินฟาเรดใกล้ ที่ผ่าน
                       กระบวนการปรับแก้เชิงเรขาคณิตแล้ว และเก็บข้อมูลระยะการเจริญเติบโตของมันสาปะหลัง 4 ช่วงระยะ
                       การเจริญเติบโต ประกอบด้วยระยะที่ 1 ระยะการเจริญเติบโตทางล าต้น ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาราก

                       สะสมอาหาร และลงหัว และระยะที่ 3 ระยะเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการสะท้อนช่วงคลื่น
                       ของมันส าปะหลังในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโตในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นมีการสะท้อนต่ าเนื่องจาก
                       คลอโรฟิลล์จะมีอิทธิพลต่อการดูดกลืนพลังงานมาก และในช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้พืชจะสะท้อนพลังงาน
                       สูงเนื่องจากคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในใบพืชสามารถตอบสนองพลังงานที่มาตกกระทบในช่วงคลื่นนี ได้ดี การจัด
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71