Page 40 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          30


                  ตารางที่ 6 การจัดระดับความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินโดยใช้ค่า NPP

                       ช่วงชั้นข้อมูล        การเปลี่ยนแปลงค่า NPP                    ตัวชี้วัด

                             1                       ลดลง                          พื้นที่เสื่อมโทรม
                             2                       เพิ่มขึ้น                  พื้นที่ได้รับการปรับปรุง
                             3                        คงที่                    พื้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

                      3.2.3 การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (Soil Organic Carbon Stock: SOC Stock)

                                1) ตรวจสอบเอกสารและรวบรวมข้อมูล/แผนที่ในอดีต ได้แก่ รายงานผลการศึกษาวิจัย
                  เกี่ยวกับอินทรียวัตถุในดิน จุดเก็บตัวอย่างดินพร้อมผลการวิเคราะห์สมบัติของดิน (ปี พ.ศ. 2552 จำนวน
                  3,668 จุด) แผนที่ชุดดิน แผนที่อินทรียวัตถุในดิน และแผนที่ขอบเขตพื้นที่ศึกษา เป็นต้น

                                2) สำรวจและจัดเก็บข้อมูลตัวอย่างดิน ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 439 จุด) กระจาย
                  ตามประเภทดิน (วัตถุต้นกำเนินดิน เนื้อดิน และการระบายน้ำของดิน) ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ป่าไม้
                  ทุ่งหญ้า และเกษตรกรรม) ครอบคลุมทั้งพื้นที่ศึกษา ใน 2 รูปแบบ คือ
                                    (1) ตัวอย่างดินแบบทั่วไป สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โพแทสเซียม

                  ฟอสฟอรัส ความเป็นกรดเป็นด่าง และค่าการนำไฟฟ้า
                                    (2) ตัวอย่างดินแบบไม่รบกวน สำหรับการวิเคราะห์ความหนาแน่นดินและความชื้นดิน
                              3) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพิกัด ผลการวิเคราะห์ดินและความสอดคล้องกับสมบัติ

                  ของดินตามสมบัติพื้นฐานของชุดดิน
                                4) จัดทำฐานข้อมูลดินในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 2 ช่วงเวลา คือ ปี พ.ศ. 2552 และ 2564
                                5) วิเคราะห์ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดิน (ตันคาร์บอนต่อไร่) ในแต่ละจุดเก็บตัวอย่างดิน
                  และประมาณค่าเชิงพื้นที่ด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักตามระยะทางผกผัน (Inverse Distance Weighing, IDW)
                                6) ปรับปรุงแผนที่การกักเก็บคาร์บอนในดิน ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ ที่อยู่ในเขตอุทยาน

                  แห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่สงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตามกฎหมาย จึงไม่มีการจัดเก็บข้อมูลตัวอย่างดิน
                                7) จัดทำแผนที่การกักเก็บคาร์บอนในดิน ของปี พ.ศ. 2552 และ 2564 โดยการแบ่งระดับชั้น
                  ของปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดิน ปรับปรุงจากเกณฑ์การจัดระดับชั้นของอินทรียวัตถุในดิน ของกรม

                  พัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 7)

                  ตารางที่ 7 ระดับปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดิน

                                                        ระดับการกักเก็บ            ปริมาณการกักเก็บ
                     ลำดับ         สัญลักษณ์
                                                       คาร์บอนในดิน                 (ตันคาร์บอนต่อไร่)
                       1                                   ต่ำมาก                        0 – 2

                       2                                    ต่ำ                          2 – 5
                       3                                 ปานกลาง                         5 – 8
                       4                                 ค่อนข้างสูง                     8 - 12

                       5                                    สูง                         12 - 16
                       6                                   สูงมาก                        > 16
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45