Page 38 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          28


                  ข้อมูลแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น โครงการพัฒนาที่ดินต่างๆ ในจังหวัดนครนายก สมบัติของดินในพื้นที่

                  พื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน พื้นที่การเกิดดินดาน หรือพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกิดชั้นดานในชั้นไถ
                  พรวน พื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายดินเค็ม การกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ และแผนพัฒนาจังหวัด
                  นครนายก เป็นต้น

                  3.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัด

                      3.2.1 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน (Land use / Land cover change: LUC)

                                1) รวบรวมและตรวจสอบเอกสาร ทั้งในรูปของแผนที่ และรายงานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงาน
                  อื่นๆ ได้แก่
                                    (1) แผนที่การใช้ที่ดินจังหวัดนครนายก ปี พ.ศ. 2551 และ ปี พ.ศ. 2564 มาตราส่วน

                  1:25,000 จากฐานข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน
                                    (2) แผนที่ขอบเขตการปกครอง พ.ศ. 2556 จากกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
                                2) การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS database)
                                   เป็นการจัดทำข้อมูลทั้งเชิงพื้นที่ (Spatial data)  และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute

                  data) โดยการนำเข้าข้อมูลแผนที่เข้าในระบบสารสนเทศด้วยโปรแกรมวิเคราะห์และประมวลผลในระบบ
                  สารสนเทศภูมิศาสตร์  ดังนี้
                                    (1) การจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการนำเข้าข้อมูลในรูปแผนที่เพื่อใช้วิเคราะห์และ

                  ประมวลผลเชิงพื้นที่ ได้แก่ แผนที่การใช้ที่ดินจังหวัดนครนายก ปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนา
                  ที่ดิน และแผนที่ขอบเขตการปกครอง พ.ศ. 2556 จากกรมการปกครอง
                                    (2) การจัดทำฐานข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data) เป็นการนำเข้าข้อมูลด้าน
                  คุณลักษณะของแผนที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชิงพื้นที่ โดยทำการแยกกลุ่มการใช้ที่ดินออกเป็น 6 กลุ่มตาม
                  มาตรฐานตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินของ LDN ดังนี้

                                        - พี้นที่ป่าไม้ หมายถึง ป่าไม้ทั้งหมด ได้แก่ ป่าไม่ผลัดใบ ป่าผลัดใบ ป่าชายเลน ป่า
                  พรุ ป่าปลูก วนเกษตร และป่าชายหาด
                                        - พี้นที่ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะ หมายถึง ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะทั้งหมด

                                        - พี้นที่เกษตรกรรม หมายถึง พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ได้แก่ นาข้าว พืชไร่ ไม้ยืน
                  ต้น ไม้ผล พืชสวน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สนามกอล์ฟ และเกษตรผสมผสาน
                                        - พี้นที่น้ำ หมายถึง แหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำลำคลอง หนองบึง และแหล่งน้ำที่สร้าง
                  ขึ้น อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ คลองชลประทาน รวมถึงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ พืชน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำขัง และบ่อขุดร้างที่มี
                  น้ำขัง

                                        - พี้นที่ชุมชน/สิ่งปลูกสร้าง หมายถึง พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด เช่น ตัว
                  เมืองและย่านการค้า หมู่บ้านชุมชน สถานที่ราชการ สถานีคมนาคม พื้นที่อุตสาหกรรม นิคมและโรงงาน
                  อุตสาหกรรม และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ รวมถึงตัวโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

                                        - พื้นที่อื่นๆ หมายถึง พื้นที่เบ็ดเตล็ดต่างๆ ได้แก่ เหมืองแร่และบ่อขุดต่างๆ และพื้นที่อื่นๆ
                                3) จัดทำแผนที่การใช้ที่ดินจังหวัดนครนายกตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC ปี พ.ศ. 2551 และปี
                  พ.ศ 2564 เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต่อไป
                                4) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดนครนายกตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC

                  ระหว่างปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ. 2564 เพื่อประเมินระดับตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตาม
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43