Page 25 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                       17

                                 1) ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนรวมตลอดปี 1,792.2 มิลลิเมตร โดยในเดือนกันยายน
                       มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด 364.2 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคมมีปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือ 3.5

                       มิลลิเมตร
                                 2) อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยตลอดปี 34.2 องศาเซลเซียส
                       โดยพบอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน คือ 36.9 องศาเซลเซียส และพบอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดปี 28.5

                       องศาเซลเซียส โดยพบอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม คือ 26.7 องศาเซลเซียส
                                 3) ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์ตลอดปี 74.2 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดในเดือนกันยายน
                       และเดือนตุลาคม เท่ากับ 83 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนธันวาคม เท่ากับ 63 เปอร์เซ็นต์

                                 สมดุลของน้ำในดินเพื่อการเกษตร
                                 การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูก ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการ
                       ปลูกพืช โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนรายเดือนเฉลี่ย และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ำของพืช

                       รายเดือนเฉลี่ย (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งคำนวณโดยใช้โปรแกรม Cropwat for Windows
                       Version 8 โดยพิจารณาจากระยะเวลาช่วงที่เส้นน้ำฝนอยู่เหนือเส้น 0.5 ETo เป็นหลัก เพื่อหาช่วง
                       ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชของตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก สามารถสรุป

                       ได้ดังนี้
                                 1) ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก จะอยู่ในช่วงต้นเดือนมีนาคมถึงกลางเดือน
                       พฤศจิกายน เนื่องจากดินยังคงมีความชื้นหลงเหลืออยู่ พอเพียงสำหรับปลูกพืชไร่ พืชผัก อายุหลังจาก

                       หมดฤดูฝนประมาณหนึ่งเดือน และอาจใช้แหล่งน้ำในไร่นาช่วยเสริมการเพาะปลูกได้บ้าง แต่ทั้งนี้ควร
                       วางแผนจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
                                 2) ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก แบ่งเป็นช่วงขาดน้ำ มีปริมาณน้ำฝนและ

                       การกระจายน้อยหรือไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช จะอยู่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงต้น
                       เดือนมีนาคมของทุกปี ในช่วงเวลาดังกล่าว ถ้าได้รับน้ำชลประทานช่วยก็สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้
                       ช่วงน้ำมากเกินพออยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายนถึงปลายเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนมาก

                       บริเวณที่ลุ่มหรือบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ อาจเกิดน้ำท่วมซึ่งส่งผลเสียหายกับผลผลิตได้ (ภาพที่ 5)
                                  เมื่อนำค่าศักยภาพการคายระเหย (Potential Evapotranspiration :   PET) มา
                       เปรียบเทียบกับค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนด

                       ระยะเวลาการปลูกพืชที่เหมาะสมในเขตเกษตรน้ำฝน มีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
                                  1) การเตรียมเพื่อเพาะปลูกควรเตรียมเมื่อปริมาณน้ำฝนมากกว่าร้อยละ 10 ของค่า
                       การระเหยน้ำ (P > 0.1xPET)
                                  2) การปลูกพืชและพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี เมื่อปริมาณน้ำฝนมากกว่าร้อยละ 50

                       ของค่าการคายระเหยน้ำ (P > 0.5xPET)
                                  3) การเก็บเกี่ยวผลผลิตควรพิจารณาให้อยู่ในช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์น้อยที่สุด

                       การเพาะปลูกควรอยู่ในช่วงกลางเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายนซึ่งตรงกับฤดูฝน เป็นระยะ
                       ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชทั่วไป ส่วนจะปลูกเมื่อใดควรพิจารณาจากชนิดของพืชที่จะปลูก แต่อาจมี
                       ฝนลดลงบ้างเล็กน้อยในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงต้นเดือนสิงหาคม ระยะเวลานอกเหนือไปจาก
                       ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวและฤดูร้อน ปริมาณฝนตกน้อย ความชื้นในอากาศน้อย ไม่เหมาะสำหรับปลูกพืช

                       ทั่วไป เนื่องจากขาดน้ำ ดังนั้นการปลูกพืชช่วงนี้ควรหาแหล่งน้ำสำรองไว้เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30