Page 24 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                       16









































                        ภาพที่ 5  ที่ตั้ง และอาณาเขต  จังหวัดนครนายก
                        ที่มา: สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 (2565)


                           2.3.2 สภาพภูมิประเทศ

                                 ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครนายก สภาพโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ราบ โดยเฉพาะ

                       ทางตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบกว้างใหญ่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่
                       น้าเจ้าพระยา หรือเรียกว่า “ที่ราบกรุงเทพ” ส่วนทางตอนเหนือและด้านทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูงชัน

                       อยู่ในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก  และอำเภอปากพลี  ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยาน

                       แห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี  มี
                       เทือกเขาติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัด คือ ยอดเขาเขียว มีความสูงจาก

                       ระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร

                           2.3.3 สภาพภูมิอากาศ
                                 สภาพภูมิอากาศในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินทุ่งรังสิต บ้านทองหลาง จังหวัดนครนายก

                       จากสถิติข้อมูลภูมิอากาศสถานีตรวจอากาศจังหวัดปราจีนบุรี (ปี พ.ศ. 2533-2564) พบว่า ได้รับ
                       อิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
                       รายละเอียดดัง ตารางที่ 2
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29