Page 46 - รายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
P. 46

รายงานผลการด าเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ       ๒๘
                                                                ของกรมพัฒนาที่ดิน ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔



                   รายงานความก้าวหน้าผลการปฏิบัติราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

                                         กรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                             ผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน  1 ตุลาคม  2563 – 30 กันยายน 2564


                              รายงานการถอดบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหา
                                             ในสภาวะวิกฤตโควิด-19 (COVID-19)

                      ประเด็น                                        รายละเอียด

               ๑. ปัญหาและอุปสรรคใน      ตามนโยบายรัฐบาลให้ลดการพบปะซึ่งกันและกัน ลดการกระจายของเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019

               การดำเนินงานในภาพรวม/  (COVID-19) โดยให้ทำงานที่บ้าน แต่ในบางกิจกรรมที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้เลย เนื่องจาก มี
               ผลกระทบที่ได้รับ      การทำงานบางอย่างที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่สำนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่เป็นกรรมการควบคุมงาน และ
                                     ตรวจรับงานก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ มีความจำเป็นต้องลงพื้นที่ดูแปลง พบปะหรือติดต่อกับ
                                     เกษตรกร และผู้รับเหมางานก่อสร้างระบบฯ เป็นต้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องออกไปพบปะ และจาก
                                     สภาวะวิกฤติดังกล่าวทำให้การส่งมอบการดำเนินงานบางพื้นที่อาจมีล่าช้าบ้าง

               ๒. การแก้ไขปัญหา/การ      1) กรมฯ ได้ออกหนังสือ ให้ปฏิบัติราชการนอกสถานที่ (Work from Home) เพื่อลดการ
               ดำเนินการของหน่วยงาน  พบปะซึ่งกันและกัน ลดการกระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และหากพบมีผู้ติด

               เพื่อลดผลกระทบ        เชื้อ ให้รายงาน Timeline สำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมฯ เพื่อแจ้ง
                                     แก่เจ้าหน้าที่ทุกคนทราบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหากผู้ที่มีความเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อให้กักตัวและ
                                     หลีกเลี่ยงการพบปะตามมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
                                         2) ปรับรูปแบบการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Web Conference

               ๓. ปัจจัยความสำเร็จในการ  1) กรมฯมีเครือข่ายเกษตรกรที่เข้มแข็ง เป็นหมอดินอาสา ช่วยประสานการดำเนินงานในพื้นที่
               ดำเนินงาน             จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเดินทางของเจ้าหน้าที่ในการไปพบปะเกษตรกรได้
                                         2) เกษตรกรมีความประสงค์ต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่อยู่แล้วจำนวนมาก จึงสามารถ
                                     ดำเนินการได้เพิ่มขึ้น ในสภาวะวิกฤตที่ภาคเศรษฐกิจอื่นซบเซา แต่ภาคการเกษตรยังคงสามารถ
                                     ดำเนินต่อได้ในบางกิจกรรมที่มีความเสี่ยงน้อย
                                         3) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในการจัดประชุมเจ้าหน้าที่และการบริหารจัดการภายใน
                                     การปรับแผน และรูปแบบการดำเนินงานใหม่
               ๔. ข้อเสนอแนะในการ        ควรพัฒนาระบบที่รองรับการดำเนินงาน Work from Home ให้ทันสมัยและอำนวยความ
               ดำเนินงานเพื่อเตรียมความ  สะดวกแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการ
               พร้อมรับมือสภาวะวิกฤติที่  ปฏิบัติงาน
               อาจเกิดขึ้นในอนาคต



















                                                                                             ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51