Page 42 - รายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
P. 42

รายงานผลการด าเนินงานตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ      ๒๔
                                                                ของกรมพัฒนาที่ดิน ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔



                   รายงานความก้าวหน้าผลการปฏิบัติราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

                                         กรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                             ผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน  1 ตุลาคม  2563 – 30 กันยายน 2564


              ชื่อตัวชี้วัดที่ ๔ พื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสมได้รับการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิต (ไร่)


              ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : นายสมศักดิ์  สุขจันทร์   ผู้จัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด : นางวิรัธกานต์  พุ่มทอง
                       ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน                   นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ

              โทรศัพท์ : 02-5792270                            โทรศัพท์ : 02-5797589



              คำอธิบาย :


                       1. พื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสม หมายถึง พื้นที่เกษตรกรรมที่มีการปลูกพืชไม่เหมาะสมกับศักยภาพ
              ของดินในพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ซึ่งได้กำหนดระดับความเหมาะสมในการ
              ปลูกพืชแต่ละชนิดเป็น 4 ระดับ คือ S1 เหมาะสมมาก S2 เหมาะสมปานกลาง S3 เหมาะสมน้อย และ N ไม่

              เหมาะสม หรือหมายถึงพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ราคาตกต่ำ ผลผลิตล้นความต้องการของตลาด แม้ที่ดินเหมาะสมต่อ
              การผลิตแต่ราคาขายผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มกับการลงทุน เป็นความไม่เหมาะสมในมิติทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ข้อมูลตามแผนที่

              เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ จำเป็นต้องวิเคราะห์
              ปัจจัยร่วมอื่นๆ ในการกำหนดพื้นที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ความต้องการและความพร้อมของเกษตรกร การตลาด การ

              ขนส่ง สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น เป็นต้น

                     2. การปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิต หมายถึง เกษตรกรที่ปลูกพืชไม่เหมาะสมกับพื้นที่ได้รับคำแนะนำและ
              สนับสนุนให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตจากเดิมที่ไม่เหมาะสม (N หรือS3) เป็นกิจกรรมการผลิตที่

              เหมาะสม ได้แก่ การเสนอทางเลือกในการผลิตพืชที่เหมาะสม หรือการทำเกษตรผสมผสาน หรือการทำ  ปศุสัตว์ การ
              เลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น


                     3. รายได้เพิ่มขึ้น หมายถึง รายได้จากการผลิตที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ หักลบด้วยต้นทุนการผลิต

                     4. ขอบเขตการประเมิน


                        1) การวัดพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ได้รับการปรับเปลี่ยนฯ จะวัดจากแปลงที่ได้รับคำแนะนำและ
              สนับสนุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564


                        2) การวัดรายได้และต้นทุนการผลิต จะวัดจากแปลงที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนฯ ในปีงบประมาณ
              พ.ศ. 2562 เนื่องจากการส่งเสริมปรับเปลี่ยนพื้นที่ในปีแรกจะดำเนินการในการจัดรูปที่ดินให้เหมาะสมกับพืชชนิด
              ใหม่ จึงยังไม่สามารถประเมินผลผลิตและรายได้ที่เกิดขึ้นจากพืชชนิดใหม่ได้








                                                                                             ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47