Page 6 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       1. ข้อมูลทั่วไป
                         จังหวัดระนองมีพื้นที่ 3,298.045 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,061,278 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคใต้ของ
                       ประเทศไทย ประกอบด้วย 5 อำเภอ 30 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจำนวนประชากร 194,372 คน

                       (กรมการปกครอง, 2563)
                         1.1  อาณาเขตติดต่อ
                             ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดชุมพร
                             ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดพังงา

                             ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎรธานี
                             ทิศตะวันตก    ติดต่อ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                         1.2  ภูมิประเทศ

                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดระนองส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทางด้าน
                       ตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล
                       ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชน ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง สูง 1,700 ฟุต

                         1.3  ภูมิอากาศ
                             สภาพภูมิอากาศจังหวัดระนองแบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์
                       ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่
                       กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้ได้รับไอน้ำ

                       และความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.01 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.13
                       องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.16 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ อิทธิพลของมรสุมทั้งสองฤดู
                       ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชุ่มชื้นและความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน โดยความชื้นสัมพัทธ์
                       เฉลี่ยตลอดปี 77.05 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 95.00 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดเฉลี่ย

                       46.90 เปอร์เซ็นต์
                         1.4  ทรัพยากรดิน
                             ทรัพยากรดินของจังหวัดระนองแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
                       ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้

                               1) หาดและเนินทราย (Beach and sand dune) พื้นที่หาดทรายเป็นพื้นที่ระหว่างแนว
                       น้ำทะเลขึ้นและน้ำทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคลื่น

                       และกระแสน้ำทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็นโคกเตี้ย ๆ และ
                       เป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ำ
                       ค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง

                       หรือเหลืองปนแดง อาทิ ชุดดินระยอง (Ry)
                             2) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอา

                       เศษวัตถุจากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไปใน
                       แผ่นดินมากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11