Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระนอง
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5







                            2.1  ยางพารา
                                ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดระนอง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและ
                       สภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                       Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)

                                1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                                  ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 14,980 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.92
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน อยู่ในอำเภอกระบุรี 14,980 ไร่
                                  ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 184,291 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       35.94 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอกระบุรี 68,471 ไร่ อำเภอเมืองระนอง
                       35,892 ไร่ อำเภอกะเปอร์ 35,713 ไร่
                                  ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 10,746 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       2.10 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอกะเปอร์ 4,866 ไร่ อำเภอกระบุรี 4,121 ไร่

                       อำเภอสุขสำราญ 1,626 ไร่
                                  ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 302,712 ไร่
                                2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                       ได้ดังนี้
                                  (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 5,749 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 38.38 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง อยู่ในอำเภอกระบุรี 5,749 ไร่
                                  (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 59,313 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.18 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง กระจายอยู่ในอำเภอกระบุรี 31,719 ไร่ อำเภอกะเปอร์ 10,223 ไร่ อำเภอสุขสำราญ

                       7,083 ไร่
                                  (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 2,796 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.02 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอำเภอกะเปอร์ 1,654 ไร่ อำเภอสุขสำราญ 816 ไร่ อำเภอกระบุรี

                       193 ไร่
                                  (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 120,785 ไร่
                                3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกยางพารา และพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในชั้นความ

                       เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดระนองมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                       และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 134,209 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ
                       โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอกระบุรี 45,983 ไร่ อำเภอเมืองระนอง
                       30,126 ไร่ อำเภอกะเปอร์ 25,490 ไร่ อำเภอละอุ่น 18,951 ไร่ และอำเภอสุขสำราญ 13,659 ไร่

                       ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                  (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 9,231 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.62 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบในอำเภอกระบุรี 9,231 ไร่
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15