Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดยะลา
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1. ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดยะลามีพื้นที่ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,825,674 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคใต้
ของประเทศไทย ประกอบด้วย 8 อ าเภอ 58 ต าบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจ านวนประชากร 538,602 คน
(กรมการปกครอง, 2563)
1.1 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ ติดต่อ ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก ติดต่อ จังหวัดนราธิวาส และประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดสงขลา และประเทศมาเลเซีย
1.2 ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดยะลา มีลักษณะเป็นภูเขา เนินเขา และหุบเขา ตั้งแต่ตอนกลาง
จนถึงใต้สุดของจังหวัด มีที่ราบบางส่วนทางตอนเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณที่ราบแม่น้ าปัตตานี
และแม่น้ าสายบุรีไหลผ่าน อยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 100-200 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วย
ป่าดงดิบและสวนยางพารา มีเทือกเขาที่ส าคัญอยู่ 2 เทือกเขา คือ เทือกเขาสันกาลาคีรี เริ่มจากอ าเภอเบตง
เป็นแนวยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และเทือกเขาปิโลซึ่งเป็นเทือกเขา
อยู่ภายในจังหวัด
1.3 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดยะลาอยู่ในเขตลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ ท าให้มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึง
พฤษภาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 23.1 องศาเซลเซียส
และสูงสุดเฉลี่ย 32.7 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ย 2,281.60 มิลลิเมตรต่อปี มีฝนตกเฉลี่ย 135 วันต่อปี
เดือนตุลาคมพฤศจิกายน มีฝนตกชุกที่สุด
1.4 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรดินของจังหวัดยะลาแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
ต้นก าเนิดดิน ได้ดังนี้
1) ที่ราบตะกอนน าพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ าหรือ
ล าน้ าสาขา วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ า
แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
(1) ตะพักล าน้ าระดับต่ า (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ าตาลปนเทา และน้ าตาล มีจุดประสีต่าง ๆ