Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
2) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอาเศษ
วัตถุจากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไปใน
แผ่นดินมากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
(1) พื้นที่น้ าทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ าทะเลขึ้นถึง ดินมี
สีคล้ า อินทรียวัตถุสูง และเป็นดินเค็ม (saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรด
ก ามะถันหรือเป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ าเลวมาก เนื้อดินเป็น
ดินทรายแป้งละเอียดหรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt)
(2) พื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงในอดีต
เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ าจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่งต่ ามีน้ าขัง
ตลอดปี การระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียวที่มีการพัฒนาชั้นดิน
ไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ าตาลแก่ น้ าตาลปนเหลือง และน้ าตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดิน
ปัตตานี (Pti) ชุดดินมูโน๊ะ (Mu) ชุดดินสมุทรปราการ (Sm) เป็นต้น บริเวณที่เป็นแอ่งต่ ามีน้ าขังตลอดปี
อยู่ระหว่างเนินทรายหรือสันทรายชายฝั่งทะเล เรียกว่า “พรุ” ดินมีสีด าหรือเทาเข้ม มีการระบายน้ า
เลวมาก อาทิ ชุดดินนราธิวาส (Nw)
(3) ที่ราบลุ่มระหว่างสันทราย (Swale) เป็นพื้นที่ลุ่มต่ าหลังแนวสันทรายซึ่งเคยเป็น
ชายฝั่งทะเลที่น้ าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายถึง
ทรายปนดินร่วน สีน้ าตาลปนเทาและเทา พบจุดประสีเหลืองปนแดงและน้ าตาลปนเหลือง การระบายน้ า
เลวถึงเลวมาก มักอิ่มตัวด้วยน้ าตลอดเวลา มีเศษเปลือกหอยปะปนในเนื้อดิน เช่น ชุดดินวัลเปรียง (Wp)
ชุดดินบางละมุง (Blm) เป็นต้น
3) ที่ราบน้ าท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ าหรือล าธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ า มักมี
น้ าท่วมเป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจาการทับถมของตะกอนน้ าพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้น
หลังน้ าท่วม พื้นที่จังหวัดปัตตานีพบส่วนของสันดินริมน้ า (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของ
ตะกอนน้ าพาบริเวณริมฝั่งแม่น้ าเป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ า การระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดิน
ค่อนข้างหยาบ อาทิ ชุดดินตาขุน (Tkn)
4) ที่ราบตะกอนน้ าพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ าหรือล าน้ าสาขา
วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ า
แต่ละฝั่งอาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น
(1) ตะพักล าน้ าระดับต่ า (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก
เนื้อดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ าตาลปนเทา และน้ าตาล
มีจุดประสีต่าง ๆ การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินพัทลุง (Ptl) ชุดดินโคกเคียน (Ko)
ชุดดินท่าศาลา (Tsl) เป็นต้น
(2) ตะพักล าน้ าระดับกลางและระดับสูง (Middle and high terrace) เป็นที่ดอน
มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็น
ดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ าตาล เหลือง น้ าตาลปนแดงจนถึงแดง
การระบายน้ าดีปานกลางถึงดี เช่น ชุดดินคอหงษ์ (Kh) ชุดดินล าภูรา (Ll) ชุดดินรือเสาะ (Ro) เป็นต้น