Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนราธิวาส
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                4







                         1.6  พื นที่ชลประทาน
                             จังหวัดนราธิวาสมีเนื้อที่ชลประทาน 213,557 ไร่ (ร้อยละ 7.63 ของพื้นที่จังหวัด) กระจาย
                       อยู่ใน 8 อ าเภอ มีอ่างเก็บน้ าที่ส าคัญ 1 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ าได้รวม 3.73 ล้านลูกบาศก์เมตร

                       พื้นที่ชลประทานมีความส าคัญในการพิจารณาเพิ่มศักยภาพการผลิตที่เหมาะสม (ตารางผนวกที่ 2

                       และตารางผนวกที่ 3)
                         1.7  เขตปฏิรูปที่ดิน
                             เขตปฏิรูปที่ดิน ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ 38,075 ไร่ (ร้อยละ 1.36 ของพื้นที่จังหวัด)

                       โดยอ าเภอที่มีพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอศรีสาคร อ าเภอตากใบ อ าเภอสุไหงโกลก และ

                       อ าภอแว้ง ตามล าดับ (ตารางผนวกที่ 4)
                         1.8  การขึ นทะเบียนเกษตรกร

                             จากฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดนราธิวาสมีการขึ้น
                       ทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด ในปี 2563 จ านวน 80,934 ราย รวมพื้นที่ 710,424

                       ไร่ และกิจกรรมที่มีพื้นที่ปลูกมาก เช่น ยางพารา ทุเรียน ข้าวนาปี ลองกอง ปาล์มน้ ามัน เป็นต้น
                       (ตารางผนวกที่ 5)

                             ทะเบียนเกษตรพืชสมุนไพร จากฐานข้อมูลกลาง (Farmer One) ของส านักงานเศรษฐกิจ

                       การเกษตร เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดนราธิวาส พื้นที่ 118 ไร่ เกษตรกร 18 ราย
                       มีพืชสมุนไพรหลัก 5 ชนิด พืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาก ได้แก่ ส้มแขก พริกไทย กฤษณา ตะไคร้หอม

                       และดีปลี ตามล าดับ (ตารางผนวกที่ 6)

                         1.9  ที่ตั งโรงงานและแหล่งรับซื อสินค้าเกษตร
                             จังหวัดนราธิวาสมีแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ส าคัญจ านวน 1 แห่ง
                       และไม่มีที่ตั้งโรงงานทางการเกษตร (ตารางผนวกที่ 7)


                       2. การวิเคราะห์พืชเศรษฐกิจหลัก
                         พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลค่าการส่งออกหรือแปรรูป

                       โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าว มันส าปะหลัง

                       ยางพารา ปาล์มน้ ามัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ล าไย เงาะ ทุเรียน มังคุด
                       มะพร้าว และกาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าว กรมพัฒนาที่ดินได้ก าหนดระดับความเหมาะสม

                       ของพื้นที่ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะห์จากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ าฝน แหล่งน้ า

                       ชลประทาน ร่วมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสม เป็น 4 ระดับ
                       ได้แก่
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14